5 แนวคิดเรียนโปรแกรมi2
สำหรับคนที่รีบ ไม่มีเวลา ขอสรุปให้ก่อน
อย่าดูถูกตัวเอง เจอบ่อยที่มักคิดล่วงหน้าไปเอง ว่ามันยาก หากเราเข้าใจแล้ว มันไม่ยาก แต่หากเราคิดว่ายาก แล้วจิตใจเราจะเริ่มต่อต้าน หรือมีความคิดอคติ ว่าน่าจะเรียนรู้ไม่ได้ มันจะส่งผลกระทบในการเรียนรู้ของเรา
การเรียนรู้ หากเรียนรู้จากที่คนอื่นแนะนำหรือทำตาม ในเบื้องต้นคิดว่ามันดีเช่นกัน แต่ให้เรียนรู้เพื่อให้เป็นแนวทางเท่านั้น อย่าทำตามที่เขาแนะนำทุกอย่าง เพราะเส้นทางของเป้าหมาย สามารถไปได้หลายเส้นทางก่อนจะออกมาเป็นชาร์ตตามที่เราต้องการ
ต้องเรียนรู้เป้าหมายในการทำงานแต่ละครั้ง ว่าเป้าหมายของเราคืออะไร มีการแยกประเด็นหรือสิ่งที่เราต้องการรู้ ประเด็นหรือเป้าหมายกี่อย่างในข้อมูลที่เรามีอยู่ในมือ
เราต้องเรียนรู้โครงสร้างของโปรแกรม แนวคิดคอนเซ็บของโปรแกรม แล้วเราจะสามาถทำเข้าใจหลักและแกนของมัน หลังจากนั้นมันสามารถจะแตกย่อยเป็นหรือเรียนรู้เพิ่มเติมและมาต่อเติมเป็นองค์ประกอบ เป็นรูปร่างได้ตามที่เราต้องการ
เรียนรู้หรือเข้าใจสิ่งใดแล้ว ให้สร้างเป็นบทความหรือสร้างบทเรียน หรือจดบันทึกไว้ให้ต้นเองเข้าใจ หรือถ้าเป็นไปได้ สิ่งสำคัญที่สุดคือ เจอปัญหาแล้วให้อ่านคู่มือ เมื่ออ่านคู่มือเข้าใจแล้ว ให้สอนคนอื่นต่อ หากจะให้เก่งมากๆๆ ต้องสอนคนอื่นหรือทำเป็นสรุปสอนคนอื่นให้ได้ การสอนคนอื่นคือการเรียนรู้ที่ดีที่สุด อย่าหวงวิชา คนที่หวงวิชาคือที่เปรียบเสมือนมีคนเอาน้ำมาเทในอ่างหน้าบ้านทุกวัน หากให้คนอื่นกลัวจะหมด
แต่คนที่สอนคนอื่น คือคนที่มีบ่อน้ำเป็นของตนเอง น้ำหมดก็สามารถไปตักในบ่อเพิ่มได้ เพราะมีแหล่งที่สามารถเรียนรู้ได้ตลอดเวลา
นั้นคือแนวคิดคร่าวๆๆ หากนำไปปฎิบัติน่าจะสำเร็จอย่างแน่นอน โดยเฉพาะแนวคิดข้อที่ 5 เรื่องการสอนคนอื่น
หากเรารู้เรื่องใดแล้ว ต้องการจะทดสอบว่าเรารู้จริงหรือไม่ ให้สอนคนอื่น หากคนอื่นเข้าใจเร็ว แสดงว่า เราเก่งและเข้าใจโครงสร้าง ยิ่งเราสามารถอธิบายเรื่องยากให้เป็นเรื่องง่าย เราจะยิ่งเก่ง
การสอนคนอื่นคือการ Output ออกมาก มันทำให้เราสามารถพัฒนาตัวเองได้ดีที่สุด
หากเราแนะนำคนอื่นแล้ว คนอื่นยิ่งงงหนักหรือไม่เข้าใจ แสดงว่า เรายังไม่เข้าใจเพียงพอ ต้องกลับไปพัฒนาเรียนรู้เพิ่มเติม
ยังมีแนวคิดที่อยากแนะนำอีกหลายอย่าง แต่ที่เคยเจอบ่อยและมากคือที่แนะนำมาแล้ว เคยเห็นหลายคน ที่เคยเข้าหลักสูตรอบรมคอร์ส ต่าง ๆ เพื่อใช้งาน I2 แต่ฝึกเท่าไรก็ไม่คล่อง คือใช้งานเป็น แต่มันไม่คล่อง แล้วมานั่งถอนหายใจว่า จะทำอย่างไรถึงจะใช้งาน I2 ให้คล่อง
ไม่เข้าใจโครงสร้าง และพื้นฐาน รวมทั้งแนวคิด
ส่วนมากแล้ว คนที่เข้าอบรม เมื่ออธิบายพื้นฐานแล้ว ส่วนมาก ผู้เข้าอบรมมักจะไม่ค่อยสนใจฟัง เพราะคิดว่า ไม่สำคัญ บางทีคิดว่า ไม่ใช่แกนหลักของโปรแกรม ทั้งที่มันเป็นแกนหลักที่สำคัญมาต้องเรียนรู้ก่อนสิ่งอื่นทั้งหมดทั้งสิ้น
เหตุผลที่ผู้เรียนอยากเรียนคือเรียนเพื่อเรียนรู้ วิธีการเพื่อสร้างชาร์ต หรือไม่ก็แค่นำเข้าแล้วสามารถแสดงผลเป็นเส้นเชื่อมโยงกัน ทำเสร็จก็แทบจะใช้ประโยชน์ไม่ค่อยได้ เพราะเอาไปใช้งานแค่รู้ว่ามีการเชื่อมต่อกัน หรือไม่แค่นำเสนอพื้นฐานทั่วไป
และ ไม่สามาถนำไปวิเคราะห์ได้ เท่ากับว่าเราแค่ได้เรียนรู้เพื่อนำเข้านิดๆๆ หน่อยกับเขียนชาร์ตเป็น แต่ยังขาดส่วนที่สำคัญ คือการวิเคราะห์ หรือการหาประเด็นที่เราต้องการตรวจสอบหรือพิสูจน์ การจัดการกรณีที่มีข้อมูลจำนวนมากแล้วเราสามารถสกัดออกมาได้ตามที่เราต้องการ โดยใช้ เครื่องมือในการวิเคราะห์ เพราะไม่รู้ว่า Entity ,link ,Property คืออะไร
อย่าคิดว่า โปรแกรม I2 เมื่อใช้เป็นแล้วเราจะเก่งกว่าคนอื่น
โปรแกรม I2 มันมีหน้าที่อย่างเดียวคือ เอาข้อมูลทั้งหมดที่ดูยากหรือข้อมูลมาก แค่มาแปลงเป็นภาพ เพื่อเราดูข้อมูลได้สะดวกขึ้น มันแค่เครื่องมือตัวหนึ่งแค่นั้นเอง ส่วนที่สำคัญที่สุดคือคนใช้โปรแกรม จะต้องมีความเก่งพอ แม้ว่าจะใช้โปรแกรมได้คล่อง แต่ มันแค่ส่วนประกอบ
ส่วนหลักๆๆ ที่สำคัญจริงๆๆ คือคนใช้เคยผ่านงานต่างๆๆ มามากน้อยเพียงใด อย่างไร สามารถใช้ skill ในการวิเคราะห์หรือวางเป้าหมายในการใช้งานไว้อย่างไร
เพราะฉะนั้น หากเราไม่เข้าใจข้อมูล หรือเป้าหมายของการวิเคราะห์ข้อมูลที่อยู่ในมือเรา ว่าเราต้องการอะไร มันก็ยิ่งทำให้เราหลงประเด็นไปมาก โดยเฉพาะคนที่รู้แต่การใช้โปรแกรม แต่ไม่รู้วิธีเอาไปใช้งาน หรือไม่เคยใช้งานในการทำงานต่างๆๆ จริง ก็เหมือนคนขับรถนั้นแหละ ขับรถเป็นกับขับรถชำนาญ มันแตกต่างกัน
อย่าเรียนรู้โดยการทำตามคนอื่น
ปัญหานี้ปัญหาใหญ่ พอเข้าเนื้อหา เมื่อไม่มีพื้นฐานก็พลิกแพลงไม่ค่อยได้ เพราะไม่เข้าใจที่มา ที่ไป ใช้โปรกรมเป็นเพราะทำตามที่เขาเล่นให้ดู เมื่อนอกเหนือจากที่เขาทำให้ดูก็ไปไม่ถูก
ดังนั้น เมื่อคนฟังไม่ค่อยชอบ เพราะคิดว่ามันง่ายแล้ว ส่วนมากแล้วผู้แนะนำ หรือการสอน จะใช้วิธีการให้ทำตาม เพื่อเป้าหมายเดียวก็สามารถแสดงผล ตามที่ผู้เข้ารับการอบรมต้องการครับ และก็มักจะยึดหลักตามนั้นตลอด
โดยผู้บรรยายมักจะบอกเส้นทาง บางทีอาจจะเป็นแค่เส้นทางเดียว เช่น บอกให้เปิดตรงนั้น คลิกตรงนั้น เติมตรงนั้น สุดท้ายก็ออกมาเป็นรูปแบบตามที่ต้องการ ต่อมาก็ให้ผู้เข้าอบรมลองทำตาม พอคนเข้าอบรมทำตาม ทำได้ ถือว่าเสร็จการอบรม
โดยที่ผู้เข้าอบรม แทบจะไม่รู้เลยว่า โครงสร้างขั้นตอนที่ให้ทำ แต่ละขั้นตอนคืออะไร ทำไมต้องเลือกตัวนั้น ทำไม ต้องเป็นเส้นทางนี้
เหตุผลหนึ่งก็มาจากผู้บรรยายด้วย
บางที่ผู้บรรยาย หากบรรยายง่ายเกินไป มันเหมือนกับการดูถูกผู้เรียน ในขณะเดียวกัน มันจะทำให้คุณค่าของผู้บรรยายไม่ทรงพลังพอ เพราะผู้รับฟังคิดว่าไม่เก่งพอ มันจะเกี่ยวเนื่องถึงการจ้างบรรยายและการสร้างตัวตนของผู้บรรยาย
และที่สำคัญอีกอย่างคือ คนแนะนำ จะต้องผ่านงานมามาก จึงจะรู้ว่า ส่วนไหนเอาไปใช้งานมาก หรือส่วนไหนใช้งานน้อย คือคัดเฉพาะส่วนที่สำคัญในการเรียนรู้เบื้องต้น
สิ่งที่น่ากลัวที่สุดที่เคยเจอมาคือ ผู้บรรยาย ไม่เคยผ่านงานหรือใช้โปรแกรมเพื่อการทำงาน เพียงแต่ เข้าใจและใช้โปรแกรมเป็น แล้วมาสอนหรือแนะนำ
ผลที่ได้คือผู้เรียนไม่สามารถนำไปใช้งานได้ตามเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ รวมทั้งไม่มี mindset ในการจัดการงานต่างๆๆ ได้ดีเท่าที่ควร เพราะไม่รู้ว่าตรงไหนใช้งานมาก ส่วนไหนใช้งานน้อย เลยแนะนำและออกทะเล ไม่ได้แนะนำตรงจุด
ทำให้เสียเวลาในการเรียนรู้ แทนที่จะเอาเวลาอันน้อยนิดในการอบรม ไปเรียนรู้เฉพาะจุดที่สำคัญใช้งานมาก แต่กลับไปเรียนรู้ทั้งหมด สิ่งที่ตามมาคือผู้เรียนสับสน เพราะคิดว่าเนื้อหาในการทำงานมันมากเกินไป ทั้งที่จริงๆๆ แล้วการเรียนรู้ในการนำไปใช้งานมีไม่มาก แค่เข้าใจโครงสร้างพื้นฐานก็สามารถทำงานได้สบาย
ต้องเข้าใจข้อมูล และเข้าใจลักษณะของโปรแกรม
ความหมายคือ พอเราเห็นข้อมูล เราก็รู้ทันทีว่า ในกรณีที่เราต้องการทราบประเด็นไหน หรือตั้งเป้าหมายให้ชาร์ตที่ออกมานำเสนออะไร รูปแบบไหนอย่างไร เมื่อเราเห็นข้อมูลเราสามารถวางแผนได้ทันทีว่า
- คอลัมภ์ไหน น่าจะเป็น Entities ไหน
- และคอลัมภ์ไหนน่าจะกำหนดให้เป็น Identity
- หรือกำหนดให้เป็น Label หรือกำหนดให้แสดงผลในเส้นลิงค์ (LINK)
แต่หากเราไม่เข้าใจ พวกนี้ มันก็จบตั้งแต่เริ่มต้นการทำงานแล้ว เพราะเราไม่สามารถกำหนดค่าต่างๆๆ ให้ตรงประเด็นที่เราต้องการ หรือตรงตามเป้าหมายที่เราต้องการได้
และอีกอย่างที่เจอบ่อย เกี่ยวกับการเตรียมข้อมูลที่จะนำเข้า โดยเฉพาะข้อมูลมาจากฐานข้อมูลในรูปแบบของ Excel บางคนเสียเวลานั่งแต่ง หรือไม่ก็ไปนั่งศึกษา excel เพื่อตัดแต่งข้อมูลก่อนนำเข้า นั่งทำนั่งคิด ในความคิดเห็นส่วนตัวแล้วคิดว่า ….
อย่าเลย หากทำเช่นนั้นแสดงว่าไม่เข้าใจการใช้งาน I2
จริงๆๆ มันเป็นการทำงานที่หลายขั้นตอนเกินไป อย่างเช่น เรามีข้อมูล 3 sheet พอจะนำเข้าก็แต่ง sheet แรก ในโปรแกรม Excel เสร็จแล้วก็นำเข้า พอทำอันใหม่ ก็ทำแบบเดิมอีกทุกอันมันเสียเวลา
อย่าลืมนะครับ ในโปรแกรมมันมีตัวปรับแต่งข้อมูล(Importing with a specification) มาให้แล้วเสร็จ เราแค่นำข้อมูลเข้ามา แล้วปรับแต่ง เสร็จจากการตอนการนำเข้าเสร็จ เราก็แค่บันทึก รูปแบบการนำเข้าเก็บไว้ เมื่อเรานำเข้าอีกครั้ง เราก็ไม่ต้องแต่งข้อมูลอีก หากข้อมูลเหมือนกัน โปรแกรมจะแต่งข้อมูลมาให้อย่างเรียบร้อย
หรือ หากข้อมูลไม่เหมือนกัน หรือคล้ายกัน ก็ง่ายๆๆ แค่ เราเลือกรูปแบบการนำเข้าที่เราเคยทำมาแล้ว แล้วเราก็สั่งให้ edit หรือแก้ไขการนำเข้า พอมาถึงขั้นตอนการปรับแต่ง เราแค่ปรับแต่งเล็กๆๆๆ น้อยๆๆ ในส่วนที่แตกต่าง แค่นั้นเอง
สุดท้ายพอนำเข้าเสร็จ เราจะเก็บแบบเดิมไว้หรือเอาแบบใหม่ ก็เลือกบันทึกได้เลย
หากใครหลงเข้ามาอ่านใน Blog นี้ เมื่ออธิบายถึง Entities, link, properties, Attributes แล้วไม่เข้าใจความหมายหรือไม่เข้าใจความแตกต่างการใช้งานของแต่ละตัวว่าใช้งานอย่างไรประกอบด้วยอะไรบ้าง
นั้นแสดงว่า ที่ผ่านมา การเรียนรู้เป็นการเรียนรู้แบบจำเขามาแล้วเมื่อจะทำอะไรสักอย่างก็มักจะจดไว้ แล้วก็ทำตามขั้นตอนที่คนอื่นแนะนำทุกอย่าง
สิ่งนั้นจะสร้างปัญหาให้กับคนเรียนรู้หรือใช้งานใด้ในอนาคต เพราะเราไม่สามารถออกชาร์ตหรือนำเข้าข้อมูลหรือเขียนข้อมูลที่เราได้มาออกมาเป็นรูปภาพหรือเป็นชาร์ตได้ตามที่ประเด็นที่เราต้องการ
สิ่งที่ตามมาคือเราแค่ออกมาได้เป็นภาพหรือเป็นชาร์ตอย่างเดียว แต่ไม่สามารถนำไปใช้ประโยชน์อย่างอื่นได้
แนวทางในการเรียนรู้
หลักการทำงานของโปรแกรมในการการนำเสนอข้อมูล จากเดิมเป็นข้อมูลไฟล์เช่น excel ไม่ว่าเราจะเขียนชาร์ตหรือนำเข้าข้อมูลหลักการจะคล้ายกัน นั้นคือ
การเพิ่มรายการลงไปในชาร์ต (Add information to a chart) นั้นคือการเพิ่ม Entities ,Link ลงไป ในชาร์ต แต่ในการเขียนชาร์ตเราต้องเพิ่มเอง โดยการลากมันลงไป
ขั้นตอนการนำเข้า ตัวช่วยในการนำเข้าจะเป็นต้วนำรายการดังกล่าวให้เราเอง แต่เราต้องกำหนดหรือเลือกเองว่าต้องการให้ชาร์ตออกมาในรูปแบบไหน เช่นกัน ในขั้นตอนนี้คือขั้นตอนการ Import Design
ความแตกต่างระหว่างการเขียนชาร์ตและการนำเข้า คือ การเขียนชาร์ตเราลาก รายการลงไปในชาร์ตแล้ว เราต้องกำหนดคุณสมบัติให้กับรายการเหล่านั้น
เช่นเดียวกัน ในขั้นตอนการนำเข้า เราก็ต้องกำหนดให้มันเช่นกัน แต่จะเป็นขั้นตอน (import Design๗ เพราะเฉพาะนั้น เราต้องเข้าใจคุณสมบัติของ Entities,Link เพราะค่าต่างๆๆ ที่เรากำหนดลงไปไม่ว่า เราจะเขียนชาร์ตหรือนำเข้า คุณสมบัติเหล่านั้นจะเป็นตัวแสดงผลให้เราเห็นบนชาร์ต รวมทั้งการวิเคราะห์ข้อมูลต่างๆๆ
นั้นคือหลักการคร่าวๆ