อัพเกรด sj413
อัพเกรด sj413 ขึ้นชื่อเรื่องไว้ง่ายๆๆ แต่นอนคิดอยู่หลายวันว่า จะปรับแต่งหรือเปลี่ยนดีหรือไม่ เลยตัดสินใจ เปลี่ยน
- front axle shaft เพลาขับหน้า
- Steering knunckle ชุดหัวกระโหลก
- Transmission gear เกียร์เมน
- Transfer gear box เกียร์สโลว์หรือเกียร์ฝาก จากเดิม 1000 เปลี่ยนเป็น 1300 สามารถที่เปลี่ยนเพราะเปลี่ยนเฟืองท้ายเป็น 8/41
แต่ในส่วนที่สำคัญคือต้องการเปลี่ยนเป็นของมือสอง ญี่ปุ่นให้หมด เพราะเท่าที่ทดลองใช้มาแล้ว ญีปุ่นมือสอง บางครั้งดีกว่าของใหม่ในไทย (ในความเห็นส่วนตัว)

ดุมล้อรถ มันเป็นชุดที่เกี่ยวกับการขับเคลื่อนล้อหน้า ที่จริงแล้วสิ่งที่ต้องการคือหัวกะโหลก ที่เขาเรียกว่า Steering Knuckle พร้อมกับแกนลูกปืนจี้ (kinpin) กับเหตุผลที่สำคัญคืออยากเปลี่ยนให้เป็นของญี่ปุ่น ประกอบกับราคาไม่แพงเลยตัดสินใจซื้อเพื่อปรับปรุงใหม่ และมีเหตุผลหลักจริงๆๆ อีกอย่างคือรถที่ซื้อมา มีปัญหาเกี่ยวกับอุปกรณ์ที่สำคัญหลายชิ้น เพราะเป็นรถนานหลายปีแล้ว ส่วนมาก เสียดายงบ มักจะเปลี่ยนแบบขอไปที แต่สุดท้าย พบว่า เข้าหลักการเสียน้อยเสียยาก เสียมาก เสียง่าย เลยตัดสินใจเริ่มต้น กับรถระบบขับเคลื่อนล้อหน้าใหม่ โดยจะเปลี่ยนกระดุม หัวกะโหลก เพลาขับหน้า หลังจากที่เปลี่ยนเพลากลางหน้ามาแล้ว

สภาพภายนอก ของเกียร์เมน และเกียร์สโลว์ ดูท่าต้องทำความสะอาดมาก แต่ดูแล้วสภาพใช้ได้ เกียร์มาให้ครบ ในมุมหนึ่ง หากเรามองส่วนควบเช่น หัวเกียร์ คันเกียร์ และสภาพ ทั่วไป ถือว่าราคาไม่แพง หากเทียบกับของราคาถูกหรือที่ขายทั่วไป แม้ราคาถูกกว่า แต่สภาพ มาไม่ไหว เคยซื้อเกียร์มา ราคาถูกก็จริง แต่ทำไปทำมา เสียค่าขนส่งไปกลับ เพราะเกียร์มีปัญหา กับสภาพต่างๆๆ สรุป แพงกว่า ตัวนี้มาก เลยเป็นบทเรียนว่า อย่าดูที่ราคา แต่ให้ดูที่คนขายสินค้า ว่ามีความน่าเชื่อถือหรือไม่

เหตุผล ทำไมถึงยอมลงทุน
ดุมล้อหน้า หรือส่วนประกอบของ Steering Knuckle เป็นส่วนที่สำคัญมากเพราะเป็นตัวขับเคลื่อนล้อหน้า ในส่วนนี้ หากเป็นรถปกติทั่วไปจะไม่มี และที่สำคัญรถที่มีขนาดเล็ก ที่มีคานแข็งมาจากโรงงาน น้อยมาก ในส่วนข้างหน้านี้ เป็นส่วนที่ขับเคลื่อนล้อหน้าทั้งหมด และมีองค์ประกอบละเอียดอ่อนกว่าข้างหน้ามาก เช่น มีลูกปืนจี้ ลูกปืนล้อ ซีล หากรวมกันแล้ว ลูกปืน จำนวน 8 ลูก แบ่งเป็นลูกปืนล้อ 4 ลูก ลูกปืนจี่ 4 ลูก และมีซีล จำนวน 6 ซีล(รวมสองข้าง)
ที่ผ่านมาได้ทดลองทำ ทดลองเปลี่ยนหลายรอบแล้ว แต่ปัญหาที่เจอคือมันจะเสียเร็วมาก เปลี่ยนแต่ละครั้งหลายชิ้นไม่ต่ำกว่า 2000 บาท และล่าสุด ลุยน้ำแล้วมันขึ้นสนิมที่ลูกปืน ทั้งหมด
มาลองคิดดูว่าทำไม สุดท้ายพบว่า ส่วนมากจะดูตามคลิปแนะนำ หรือไม่ก็บทความแนะนำ แต่การประกอบมันไม่ถูกต้อง เช่น ทำความสะอาดไม่ดี จุดไหนที่ต้องทาซิลิโคนกันน้ำเขาไม่แนะนำ เขาแนะนำที่จุดทาจารบีอย่างเดียว สุดท้ายลงมืออ่านคู่มือ พบว่ามีการประกอบผิดหลายอย่างโดยเฉพาะเรื่องการทาซิลิโคน และการประกอบซีล รวมถึงเสียดายเงินซื้อลูกบล็อก สำหรับขันลูกปืนล้อ เพราะคิดว่ามันแพง แต่พอหาและรู้ขนาด หาข้อมูลพบว่า ไม่ได้แพงแต่อย่างใด สุดท้ายลงทุนซื้อประแจบ็อก สำหรับขันลูกปืนล้อ และวิธีการขันก็ต้องเป็นไปตามคู่มือ สรุปแล้วคู่มือดีที่สุด
ต่อมา เกียร์สโลว์ หรือเกียร์ฝาก เดิมใช้สโลว์ 1000 ก็ถือว่าดีส่วนหนึ่งรอบเครื่องต่างพอดี ทั้งตีนต้น และตีนปลาย แต่ปัญหามันตามมา บางทีมันไม่มีแรงเพียงพอ และเพื่อให้มีการลุยได้มากกว่าเดิมเลยเปลี่ยนล้อ จากเดิม 30 เป็น 31 ก็ยังใช้ได้ดีไม่มีปัญหา แต่เมื่อบรรทุกปุ่ย หรือต้องการลุยมากๆๆ อัตราทดของเฟืองท้าย ขนาด 11/43 ทั้งหน้าหลังไม่เพียงพอ แต่หากวิ่งถนนดำ จะพอดี
นอนคิดว่า จะเอาอย่างไรดี เพราะตอนนี้ ลงสวนใหม่และพื้นที่มันไม่ราบเรียบ จะเดินเพื่อทำงานมันเสียเวลา ไหนๆๆ มีรถสำหรับลุยแล้ว มันดูไม่คุ้มค่า เลยตัดสินใจเปลี่ยนเป็นเฟืองท้าย และหน้าเป็น 8/41 อัตราทด จะสูงขึ้น
หลังจากใช้ไปสักพักหนึ่ง พบว่า แรงดีมาก ขึ้นเนินปกติไม่ค่อยไหว แต่มารอบนี้ ใช้เกียร์ 2 ยังขึ้นได้สบาย เริ่มพอใจมาก เหมาะมากสำหรับลุย แต่ มันมาเจอปัญหา ระหว่างทางกลับบ้านและสวน แม้ว่าจะไม่ไกล แต่รู้สึกว่ารอบจะเหลือมาก (คือในความเร็วเท่าเดิม แต่เครื่องจะทำงานรอบสูงขึ้น ) ผลที่ตามมาคือมันจะกินน้ำมันมากกว่าเดิม และเครื่องจะทำงานหนักมากขึ้น
มานอนคิดว่า จะเอาอย่างไรดี จะเปลี่ยนเฟืองท้ายมาเป็น 11/43 เหมือนเดิม มันก็ยุ่งยาก จะเอาสโลว์ 1300 ตัวเดิมที่เคยติดรถก่อนเปลี่ยนสโลว์ 1000 สภาพมันก็ไม่สมบูรณ์ เลยตัดสินใจสั่งมือสอง เพราะหากซื้อพร้อมเกียร์เมน จะได้ลดราคา
หลังจากนั้น ทำการรื้อและทำความสะอาด ใช้เวลาเกือบอาทิตย์กว่าจะเสร็จสิ้น แต่ได้ความรู้หลายอย่างในการทำความสะอาดอุปกรณ์ชิ้นส่วนของเครื่องยนต์
หลักการทำความสะอาด มันแบ่งออกเป็นทำความสะอาดหน้าสำผัส บางอันจะเรียบต้องใช้กระดาษทรายขัด บางชิ้นหน้าสำผัสจะเป็นร่องเล็ก ต้องใช้แปรงลวดขัด หากเป็นร่องเล็กๆๆ ส่วนมากจะใช้สำหรับทาซิลิโคน
เมื่อทำความสะอาดหน้าสำผัสเสร็จแล้ว ต้องทำความสะอาดภายนอก เพราะว่าหากไม่ทำความสะอาดให้ดีตอนที่เราประกอบสิ่งสกปรกที่อยู่ภายนอกนั้นแหละเมื่อเราไปสำผัส มันทำให้ส่วนอื่นสกปรกตามไปด้วย อีกอย่างที่สำคัญคือความร้อน หากเราทำความสะอาดเอาโคลนสิ่งสกปรกออก การระบายความร้อน มันจะทำได้ดีขึ้น
นอกจากการระบายความร้อนแล้ว สิ่งที่ได้มาอีกอย่างคือ หากมีรอยรั่วซีมต่างๆๆ เราก็จะมองเห็นได้ชัดเจนขึ้น ทำให้เรารู้ว่าบริเวณไหนมีปัญหา ที่ทำให้น้ำมันรั่วซีม ออกมา
สรุป จะคุ้มหรือไม่คุ้ม ค่อยทดสอบอีกที แล้วมารายงานผลให้ทราบ เผื่อเป็นแนวทาง
มีบางคน ไม่เข้าใจ พยายามยัดเครื่องยนต์ดีเซลเพื่อให้มีแรงเพิ่มขึ้น จริงๆ แล้วมันก็มีส่วน แต่ เราต้องคำนึงระบบส่งกำลังของเราด้วยว่า รองรับเพียงพอหรือไม่ กับระบบช่วงล่างว่ารองรับหรือไม่
ในความเห็นส่วนตัวแล้วคิดว่า เป็นการเพิ่มภาระมากกว่า เพราะหากเปลี่ยนเครื่องยนต์หมายถึงว่า ต้องเปลี่ยนระบบไฟ และอะไรหลายสิ่งหลายอย่าง สิ่งที่ตามมาคือการซ่อมบำรุงจะยากขึ้น น้ำหนักรถจะเพิ่มขึ้น จุดศูนย์ถ่วงของรถมันจะไม่สมดุลย์ สุดท้าย แก้ไขไม่ไหว ขายแบบขาดทุน
เพราะว่า เป้าหมายในการซื้อรถคาริเบี้ยน คือมันเป็นรถเล็ก น้ำหนักเบา ลุยได้คล่อง เพราะมันเบาจมโคลนได้ยาก แต่หากเราไปเพิ่มน้ำหนักมาก โดยเฉพาะเครื่องยนต์ สิ่งที่ตามมาคือน้ำหนักส่วนหน้าจะมากกว่า
หากเราเข้าใจระบบของรถยนต์ หรือในการพัฒนารถยนต์ สิ่งที่วิศวกรมักจะขัดแย้งกันคือ คนออกแบบรูปร่าง กับคนออกแบบเครื่องยนต์ และระบบต่างๆๆ และที่สำคัญคือการออกแบบเครื่องยนต์ สิ่งที่คำนึงถึงอย่างแรกคือให้เบา และส่วนอื่นต้องรองรับ โดยเฉพาะระบบช่วงล่าง เพราะหากรถแรง เร็ว แต่ระบบช่างล่างเช่นระบบเบรค ระบบกันสะเทือน ไม่ดีมันมีผลกระทบต่อความปลอดภัย
และหากเราศึกษาการพัฒนารถแข่ง ไม่ว่าจะเป็นรถยนต์หรือมอเตอร์ไซค์ สิ่งแรกที่เขาดูรายละเอียด คือน้ำหนักรถ มากหรือน้อย เพราะมันจะมีผลกระทบในการควบคุมรถ
ดังนั้น ในการปรับปรุงรถ ต้องเข้าใจ อย่าตามเขาว่า กัน
สิ่งสำคัญที่สุดคือคู่มือของรถ แบ่งออกเป็น 2 อย่าง คือคู่มือในการใช้งานและการบำรุงรักษา อีกคู่มือคือคู่มือการซ่อมรถ (manual Service) อันนี้เหมาะสำหรับช่าง หรือต้องการซ่อมเอง เพราะจะมีวิธีการในการซ่อมบำรุงอย่างถูกต้อง อย่างเช่นการขันแรงดันของสกรู หรือน้อตต่างๆๆ แม้ว่า บางทีเราไม่รู้แต่หากเราใช้ประแจปอนด์ การกวดหรือขันน้อต สิ่งที่ได้คือแรงขันจะเท่ากันในกรณีที่มีจำนวนหลายตัว เช่นล้อรถ หรือชิ้นส่วนอื่นที่ต้องใช้น้อตหลายตัว
ยกตัวอย่างง่ายๆๆ ในการขันฝาสูบ และขันพวกก้านสูบ เขาจะมีวิธีการตามรูปแบบที่เขากำหนดจากโรงงาน รวมทั้งอย่างเช่นการใส่แหวน จะมีให้แนะนำเป็นรูปแบบ เพราะเคยเจอมาแล้ว เขาใส่แหวนลูกสูบตามที่เขาแนะนำกันมา แต่ พอมาดูคู่มือมันไม่ใช่ ผลสุดท้ายสิ่งที่ได้เห็นคือความสึกหรอของกระบอกสูบไม่เท่ากัน มันจะกินขอบๆๆ ที่ใส่แหวนลูกสูบผิด
เพราะเขาไม่เข้าใจหลักการใส่แหวนลูกสูบและหลักการหมุนของลูกสูบว่า ส่วนไหนจะมีแรงกดมากกว่า แม้ว่ามันจะเป็นวงกลมแต่ลักษณะการทำงานของมันจะหมุนตามเพลาข้อเหวี่ยง ดังนั้นส่วนที่สึกหรอมากคือขอบข้างๆๆ กระบอกสูบ (หากมองจากข้างหน้ารถ)
editor's pick
latest video

news via inbox
ต้องการรับข้อมูลข่าวสาร