Avada Theme

Last Updated: 01/12/2023By Tags:

เป็น Blog แรกที่เริ่มลงมือเขียนหลังจากที่ปรับเปลี่ยนธีม จากเดิมเป็น flasome แล้วเปลี่ยนมาใช้ Avada Theme

การย้ายหรือเปลี่ยนธีม มันเป็นปัญหาใหญ่มากเพราะโครงสร้างและข้อมูลเดิมมันไม่รองรับกัน หากใครลองอ่านบทความจะเห็นว่าวันเวลาอัพเดทบทความหรือสร้างบทความจะเป็นวันเดียวกัน และเนื้อหาในบทความหรือ Blog จะมีข้อผิดพลาดมาก ต้องตามแก้เสียหลายวัน แต่มันคุ้มกับการเสียเวลา เพราะรู้สึกว่ามันได้ความรู้มาก โดยเฉพาะเกี่ยวกับตัว Editor จากที่เมื่อก่อนเคยใช้ UXbulider กับ Elementor หรือไม่ก็ใช้ Classic Editor ซึ่งเป็นตัวเก่าของ WordPress

แต่พอเปลี่ยนมาใช้ ธีม Avada หันมาใช้ตัว Editor ที่ใช้งานในกรณีที่รีบหรือไม่ต้องการความสวยงามมากเท่าไร อย่าง Blog ที่กำลังอ่านอยู่นี้ ปรากฏว่าลองเขียนด้วย getenberg มันเร็วกว่า และสะดวกกว่าตัวเดิมมาก ในขณะเดียวกันในกรณีที่เราต้องการจะเขียนบทความที่ต้องการความสวยงาม ในส่วนของ ธีม Avada ได้มี Editor มาสองตัวที่ช่วยให้เกิดความสะดวกในการทำงานมากยิ่งขึ้น

Avada Builder และ Avada Live คือตัวแก้ไขหรือตัวสร้างบทความหรือว่า Blog ที่มาพร้อมกับ ธีม Avada โดยที่เราไม่ต้องใช้ Elementor หรือตัวอื่นให้เสียเงินอีก ลักษณะการทำงาน แบ่งออกเป็น 2 ส่วน

Avada Builder (back-end) 

‘Avada Live’ link, the page will open directly in the front end builder.

นั้นหมายความว่า เราสามารถทำงานได้ตามที่เราต้องการแล้วแต่ความเร่งรีบหรือความสวยงามหรือผสมผสานกันได้อย่างดี

Editor คืออะไร

ในการเขียนเว็บไซต์ตัวหนึ่งที่สำคัญคือ Editor หากนึกอะไรไม่ออก เอาให้เห็นภาพชัดที่สุด มันคล้ายกับ Microsoft word นั้นแหละ คือตัวสร้างเนื้อให้กับเรา แต่ในกรณีที่ Word มันจะแสดงให้เราเห็นในหน้าที่เราพิมพ์ หากต้องการไม่ให้เห็นเครื่องมือต่างๆๆ ในโปรแกรมเราต้องพิมพ์ออกมาเป็นกระดาษ

แต่ในกรณีของ Editor ที่ใช้ทำเว็บ ในหน้าที่เป็น Editor จะเห็นเครื่องมือต่างๆๆ ในการสร้างหน้าขึ้นมาคล้ายๆๆ กับ word หรือโปรแกรม Editor ทั่วไป แต่ในการแสดงผลมันจะแสดงผลในรูปแบบของ Posts หรือ Page ที่เราสร้างแล้วแสดงให้เราเห็นบนเว็บไซต์

ดังนั้น ในการสร้างเว็บไซต์ ในกรณีที่เราจะสร้างเนื้อหา เราต้องใช้ตัว Editor นั้นแหละเป็นตัวสร้าง สำหรับความแตกต่างมันจะอยู่ที่ว่ามีเครื่องไม้เครื่องมือมากแค่ไหน อย่างกรณีเราสร้างเว็บครั้งแรก โดยการติดตั้ง WordPress เมื่อเราติดตั้งเสร็จ มันจะมีตัว Editor มาให้พร้อมแล้ว อย่างรุ่นแรกๆๆ เขาจะเรียกว่า Classic Editor เครื่องไม้เครื่องมือพิมพ์หรือตกแต่งเบื้องต้นได้ แต่หากให้เกิดเป็นหน้าเว็บที่สวยงามหลากหลาย หรือความสะดวกในการทำงานมันมีน้อย

มารุ่นหลังๆๆ มีการปรับปรุงโดยการจัดวางการเขียนเป็น Block แล้วเปลี่ยนมาเรียกชื่อว่า Gutenberg ซึ่งมีเครื่องไม้เครื่องมือในการทำงานมากขึ้น และค่อนข้างจะเร็วในการทำงาน จริงเป็นที่นิยมกันมาก รวมทั้งมีส่วนเสริมต่างๆในการทำงานเพิ่มมากขึ้น แต่ก็ยังมีบางคนไม่ชอบ เพราะคิดว่าเครื่องไม้เครื่องมือหรือการจัดการในเรื่องต่างๆๆ ยังไม่ครบสมบูรณ์ สำหรับคนที่ต้องการงานเว็บที่แปลกหรือมีลูกเล่นต่างๆๆ มาก

เมื่อมีกลุ่มคนดังกล่าวต้องการ ตัว Editor ที่มีความสามารถเพิ่มขึ้น แต่มาพร้อมกับฟั่งชั่นต่างๆๆ มาก รวมถึงการใช้งานที่หลากหลายขึ้น จึงมีผู้ผลิต Editor ขึ้นมาเป็นส่วนเสริมอีกหลายตัว เท่าที่เคยใช้งานมี Elementor มีทั้งแบบฟรี และแบบ Pro คือซื้อตัวออปชั่นเสริมมาใช้งานได้มากขึ้น ราคาประมาณ ปีละ 1000 กว่าบาท นั้นคือส่วนเสริมที่เกี่ยวกับตัว Editor

ยังมีอีกคือ Editor ที่ให้มาพร้อมกับ Theme ธีม(Theme) คืออะไร บางคนที่ไม่เคยสร้างเว็บอาจจะถามคำถามขึ้นมา ธีม มันคือตัวที่ช่วยให้เว็บไซต์ของเราสวยขึ้น รวมทั้งทำให้เราจัดการได้ง่ายขึ้น เป็นการพัฒนาขึ้นมาเพื่อติดตั้งบน WordPress ซึ่งเป็นแก่นหลักของเว็บไซต์อีกที (ยังมีอีกหลายตัวนอกจาก WordPress เรียกโดยรวมว่า CMS ) แต่ที่ใช้เว็บที่ใช้งานตอนนี้ ใช้ตัว WordPress เลยอธิบายเป็นหลัก

หากยกตัวอย่างภาพให้ชัด อย่างเช่น รถยนต์ที่เขาผลิตออกมา เมื่อผลิตมาเสร็จสามารถใช้งานได้ปกติทั่วไป แต่เมื่อมองแล้วมันไม่สวย ก็ใช้วิธีการสร้างบอดี้ หรือตัวถังรถขึ้นมาใหม่ครอบของเดิมเสีย แต่โครงสร้างหลักๆๆ ยังมีของเดิมอยู่เพียงแต่ ติดตั้งตัวถังรูปร่าง ให้ดูสวยขึ้นและแก้ไขได้ง่ายขึ้น นั้นคือ ธีม (ไม่รู้ว่าที่อธิบายใกล้เคียงกันไหม)

เอาเป็นว่า หากเราจะสร้างเว็บในกรณีที่เราเลือกใช้ WordPress เมื่อเราติดตั้งเสร็จ จะปรากฏหน้าเว็บไซต์ที่เราสามารถเขียนบทความหรือดูเป็นเว็บไซต์ทั่วไปได้ทันที และจะให้ ตัว Editor มาให้พร้อมและมีธีมฟรีให้เลือกใช้ แต่ ไม่การปรับแต่งรวมทั้งความสวยงามไม่สามารถปรับแต่งได้มากเพราะมีขีดจำกัด ดังนี้จึงมีผู้พัฒนาธีมขึ้นมา เพื่อให้เราซื้อแล้วมาติดตั้งเพิ่มองค์ประกอบลงไปอีกทีหนึ่ง นั้นแหละคือtheme

ในธีมที่เราติดตั้งใหม่นั้นแหละจะมี Editor มาให้พร้อมกับธีม ดังนั้นเราสามารถเลือกใช้งานได้เพิ่มเติมเพื่อให้เหมาะสมกับงาน อย่าง Avada Theme ที่ใช้ ก็จะให้มาเช่นกัน ตามที่อธิบายมาแล้ว

นั้นคือส่วนเบื้องต้นที่มีความแตกต่างกับธีมทั่วไปของ Avada Theme ส่วนรายละเอียดอื่นยังมีอีกหลายอย่าง เดี่ยวจะกลับมาเล่าต่อ ส่วนความรู้สึกเมื่อเริ่มใช้ครั้งแรก รู้สึกว่ายากนิด เพราะติดกับความรู้สึกเดิมที่ตอนสร้างเว็บ จะมีกรอบตายตัวว่าเมื่อสร้างส่วนหัว หรือสร้างเนื้อหา หรือสร้างส่วนต่าง ๆๆ การแก้ไขมักไม่ต้องทำอะไรมากเพราะมันตายตัว แต่พอมาใช้ Avada ความรู้สึกแรกคือเราสามารวาง Layout หรือโครงสร้างได้ตามที่เราต้องการว่า ในแต่ละตัวหรือแต่ละเรื่อง จะให้มีการแสดงผลเป็นอย่างไร หรือมันสามารถปรับแต่งได้ตามที่เรากำหนด โดยการแยกตาม Category หรือเนื้อหาที่เราแยกออกเป็นประเภท

รายละเอียดอื่นยังมีอีกมาก เอาเป็นว่าแค่แนะนำเบาๆๆ ก่อน แล้วจะเขียนให้เป็นเรื่องเป็นราวในเว็บที่สร้างจาก wiki theme แทน นั้นคือเว็บนี้ nst-green.name

news via inbox

ต้องการรับข้อมูลข่าวสาร

Leave A Comment