สัพเพเหระกับโปรแกรม I2

Last Updated: 03/12/2023By

สัพเพเหระกับโปรแกรม I2 วันนี้  ความตั้งใจและความมุ่งหมาย หรือความมาดมั่น  กะว่าจะเขียนบทความเกี่ยวกับการใช้โปรแกรม I2   ตอนช่วงเช้า  ก่อนจะไปหาหมอฟันตามที่หมอฟันได้นัดหมายในช่างบ่ายสักหน่อย

แต่…. มันรู้สึกกังวลนิดๆๆ เลยเขียนไม่ค่อยออก   จะว่าไปแล้วคำว่า รู้สึกกังวลนิดๆๆ  มันก็ไม่แน่ใจว่าจะบอกถูกไหม  แต่ดูแล้วมันเป็นคำพูดมันดูสวยหรูดี เลยบอกว่า กังวลนิดๆๆ    จริงๆๆ แล้ว  ในใจลึกๆๆ  มันกลัวเจ็บมากกว่า กับนึกตอนฉีดยาชาใต้เพดานปาก ก็ยิ่งรู้สึกกังวลนิดๆๆ

มันน่าเริ่ม จากความกดดันจากคนรอบๆๆ ข้าง   พูดเป็นเสียงเดียวกันว่า น่าจะจัดการเรื่องสุขภาพได้แล้ว  น่าจะหยุดดูแลตัวเองได้แล้ว น่าจะต้องหยุดบางเรื่องได้แล้ว และน่าจะเริ่มต้นบางเรื่องได้แล้ว  โดย  เริ่มต้นจากการจัดการเรื่องฟันก่อน เพราะมันดูเสียบุคลิค

ก็มาเริ่มพิจารณาและทบทวน และคิดและมาคิดดู มันก็จริง เพราะความผลัดวันประกันรุ่งกับคำว่างาน   เพียงเพื่อเมื่อทำงานแล้ว มันต่อยอด มาเป็นคำว่าเงิน แต่อ้างคำว่าหน้าที่ต้องรับผิดชอบ  จนบางทีเรามองข้ามสิ่งหนึ่งที่เรียกว่าสุขภาพ  ที่มันจะบั่นทอน ทำให้งานลดคุณภาพลง และเงินก็ลดน้อยตามมา แต่ก็อ้างว่า ทำให้งานในหน้าที่ไม่สมบูรณ์ เช่นกัน

น่าจะถึงเวลาปฎิวัติตัวเองแล้ว   เริ่มต้นจากการดูแลสุขภาพตามคำร้องขอของหลายคนที่ร้องขอ   แต่ ไม่กล้าบังคับขอให้ตัดสินใจเอง เลยตัดสินใจโทรนัดหมอฟัน รอเกือบอาทิตย์กว่า จึงมีคิวไปตรวจสุขภาพฟัน  เมื่อเข้าในระบบเป็นผู้รักษาแล้ว หลังจากนัด ก็ไปตามนัดหมายของหมอฟันอย่างเดียว อย่างเช่นวันนี้

ช่วงเช้าเอาเวลา สั้นๆๆ เท่าที่สมาธิพอมี แม้ไม่มาก เพราะมักจะนึกถึงเวลาฉีดยาชา แล้วสมาธิชอบหายไป  กับเวลายาชา ยังไม่ออกฤทธิ์ แต่หมอฟันมีลูกค้าหลายคน ก็รีบทำงาน  บางทียังเจ็บ กับทำเสร็จแล้วยาชา ยังไม่หมดฤทธิ์  แค่คิด มานิดๆๆ หน่อยๆๆ   สมาธิก็แกว่งไปอีกแล้ว 

เลยเขียนสัพเพเหระ ทั่วไปเกี่ยวกับ I2 ดีกว่า

การเขียนบทความ เพื่ออธิบายการใช้งานโปรแรกม I2     หากคิดว่าง่ายมันก็ง่าย และง่ายๆๆ มากๆๆ  

แต่.. หากคิดว่ายากมันก็ยาก และยาก มากๆๆ   ตัวที่เป็นเงื่อนไขกำหนดว่า มันเขียนยาก หรือง่าย  น่าจะอยู่ที่เป้าหมาย ที่เราต้องการเขียน ว่าให้ผลลัพธ์ออกมาเช่นไร

หากเราเขียนเพื่อหวังอวดความรู้ อวดความเก๋า อวดความเก่งของตัวเราเอง คนเขียนว่า เก่งมากๆๆ   การเขียนบทความมันจะเขียนได้ง่ายมากๆๆ  เพราะมันก็ไม่ยากอะไรเลย  เขียนอะไรไปก็ได้ ให้คนอ่าน  อ่านแล้วแล้ว ชมว่าคนเขียนเก่งจังเลย    แต่คนอ่าน  อ่านจบแล้ว ได้ความรู้หรือไม่ได้ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง

บางทีคนอ่าน อ่านจบแล้ว ยังงง ๆๆ  ว่าที่เขียนคืออะไร น่าจะเป็นระดับขั้นแอดวานด์  ความรู้ยังไม่ถึง เลยอ่านแล้วไม่เข้าใจ และการใช้งานของโปรแกรมมันน่าจะยากมากๆๆ เลย   คนเขียนที่พยายามอธิบายแสดงว่าเป็นคนเก่ง ที่สามารถรถใช้งานโปรแกรมได้  อย่างที่บอกมา หากเป็นแบบนี้จะเขียนง่าย เพราะคนอ่านอ่านไม่รู้เรื่องก็ชั่ง แต่ได้โชว์ความเก่งแล้ว

แต่ถ้าเขียนเพื่อให้คนอื่นรู้หรือเข้าใจ ย่อมรับว่ายากมากและกดดันมาก  วันเดียวหากเขียนได้ ได้สัก 2 หน้ากระดาษ A 4  ถือว่ามากแล้ว  

ต้องระวังอย่างมากในการเขียนบทความ  หากการเขียนบทความของเรา แล้วไปแล้วเราชี้นำความคิดของเขา   ให้เขาทำตามแบบตามตัวว่าต้องทำอย่างนั้น อย่างนี้ ถึงจะถูกต้อง มันเป็นอะไรที่บางทีเขาไม่สามารถต่อยอดความคิดของเขา หรือพลิกเพลงวิทยายุทธิ์ เพื่อค้นหาเคล็ดลับวิชา ได้เพิ่มเติมได้

หากวิธีการของเราที่แนะนำไป  หากที่เรารู้มา  มันไม่ถูกต้อง คือแนะนำแบบไม่มีแหล่งอ้างอิง ที่ไปที่มา  เท่ากับว่า แทนที่จะให้ความรู้คนอื่น มันกลับกลายเป็นการสร้างแนวทางที่ผิดกับเขา 

ก็เลยต้องหาเอกสารอ้างอิง โดยการกด F1 ในโปรแกรมบ้าง หรือเข้าหน้าเว็บไซต์ ของผู้ผลิตโปรแกรมบ้าง เหตุผลเดียว เพื่อเป็นเอกสารยืนยันว่าเราไม่ได้เอาความคิดของเราที่ทำมา โดยไม่มีหลักการแล้วมาแนะนำให้คนอื่น ให้ผิดตามไปด้วย มันก็เลยช้าและต้องใช้เวลาในการจัดทำค่อนข้างจะมากกว่าปกติ

อีกอย่าง เนื้อหามันก็มาก ก็ต้องมานั่งหาในส่วนที่คิดว่าสำคัญ และให้เขาสามารถเข้าใจตามระบบอย่างเป็นขั้นตอน เพื่อลดตัดส่วนที่ไม่สำคัญออกไป เมื่อคนที่เขาเข้ามาอ่านแล้วเขาเก่งแล้ว ก็จะได้ศึกษาในส่วนที่เป็นปลีกย่อย ต่อไป

วิธีการทำงานให้ถึงเป้าหมาย มันมีหลายแบบหลายอย่าง  หากแต่แนะนำให้เขาทำตามอย่างเดียว เขาก็ไม่ได้คิด หรือค้นหาวิธีการทำงานของเขาพบ มันก็ไม่มีประโยชน์อันใด

หากอธิบายง่ายเกินไป มันเท่ากับเป็นการดูถูกคนอ่าน หากยากเกินไป คนอ่านก็อ่านไม่รู้เรื่อง เลยพยายามวางระดับกลางๆๆ

นี่คือปัญหาของการเขียนบทความ 

มีบางคนอาจจะคิดในใจกับ ทำไม บางคำ อธิบายเป็นภาษาอังกฤษบ้าง  ภาษาไทย ทำไมไม่อธิบายเป็นภาษาไทยให้หมด

ต้องทำความเข้าใจว่า บางตัวพอมัน แปลเป็นภาษาไทยแล้ว  มันแปลไม่เหมือนกัน ความหมายอาจจะแตกต่างกันในตอนพิมพ์แต่ละครั้ง ไม่ต้องดูอื่นไกล หากเรานั่งใกล้กับเพื่อน แล้วลอง เอามือถือของเพื่อนที่หน้าจอแสดงภาษาไทย หากเป็นคนละยี่ห้อกัน การแปลเมนูต่างๆๆ ก็จะไม่เหมือนกัน แต่คล้ายกัน แต่หากเป็นภาษาอังกฤษ มันจะแทบไม่ค่อยเห็นความแตกต่างของหน้าจอเมนูเลย

ฉันใด ฉันนั้น  หากมีปัญหาที่เจอหน้าจอมือถือของเรา ถ้าโชว์ภาษาไทย แล้วเราเอาข้อความที่แจ้งเพื่อค้นหาในอินเตอร์ เพื่อทราบข้อมูลแล้วเอามาแก้ปัญหา เราจะค้นเจอปัญหาได้เฉพาะในประเทศไทย เท่านั้น เพราะเราค้นด้วยภาษาไทย

แต่ หากเราตั้งหน้าจอให้แสดงเป็นภาษาอังกฤษ หากเจอปัญหา เราเอาข้อความที่แจ้งว่ามีปัญหา เป็นภาษาอังกฤษ เราสามารถจะค้นปัญหา ดังกล่าวได้ทั่วโลก

นี่คือหลักการง่ายๆๆ ว่า ทำไม่ เน้นบางอย่างเป็นภาษาอังกฤษ

ลองมายกตัวอย่าง ว่า หากอธิบายเป็นภาษไทย กับภาษาอังกฤษ แตกต่างกันอย่างไร

เช่น  เราเขียนคำอธิบายว่า  “การเพิ่ม  Entity เข้ามาในชาร์ต  “

รูปแบบที่ 1   เราอธิบายว่า   การเพิ่ม เอนทิติ  เข้ามาในชาร์ต    เมื่อเราใช้โปรแกรมจริง คำว่า เอนทิติ มันไม่มี มีแต่ Entity   สมองเราก็ต้องปรับและต้องแปลแล้ว  แต่หากเราเขียนเป็นภาษาอังกฤษ คำว่า Entity สมองเราไม่ต้องแปล เผลอ ๆๆ แม้เราจะสะกดไม่ถูก แต่มันจำเป็นภาพไว้แล้ว 

หลายคนหน้าจะพบบ่อย ในการใช้โปรแกรม บางตัว เราเห็นปั้บ เรารู้ความหมายเลย แต่หากให้เรามาพิมพ์บางครั้งเราสกดไม่ถูก แต่เรารู้ความหมายของมัน นั้นคือเราไม่ได้จำมันเป็นตัวอักษร ที่เราจำมันจากภาพ

ยังมีตัวอย่างอื่นอีก แต่พอก่อนจะมาอธิบายเพิ่ม เพราะมีประเด็นที่ต้องอธิบายอีกหลายประเด็น 

ขอตัวแปลงร่าง จากชาวสวนคนชนบท อยู่บ้านนอก เข้าในเมือง เป้าหมายวันนี้ เข้าร้านหนังสือ Se-ed หาหนังสือมาอ่าน เสร็จแล้ว ไปนั่งซัดมาดคนในเมืองร้านโกปี้  หากมีเงินในกระเป๋าพอ อาจจะไปนั่งในห้องแอร์ startbucks (ส่วนมากที่ไม่ค่อยอยากเข้า  เพราะ สั่งไม่ค่อยจะถูก มีกาแฟหลากหลายมาก  จะสั่งมากินที่สวน เขาก็ไม่ยอมส่ง เพราะเขาส่งให้เฉพาะสำนักงานกับที่บ้านเท่านั้น พอเห็นราคาก็ดีใจที่เขาไม่ยอมมาส่ง ราคาชิ้นเดียว เติมน้ำมันรถมาสวนวิ่งไปกลับได้เกือบอาทิตย์ )

ทิ้งท้ายก่อนจบในเบื้องต้นหากเราต้องการอ่านในภาพรวมดูจากเว็บไซตของผู้พัฒนาโปรแกรมI2 ได้

ในส่วนบทความที่พอเขียนไว้บ้างแล้ว ในเรื่องเกี่ยวกับการใช้งานโปรแกรมโปรแกรมI2 เบื้องต้น

news via inbox

ต้องการรับข้อมูลข่าวสาร

Leave A Comment