โปรแกรม I2
โปรแกรม I2
สำหรับใครที่อยากอ่านในเชิงคำแนะนำในการใช้งาน ก็ข้ามบทความนี้ ไปอ่านเพื่อศึกษาเพิ่มเติมได้ ได้เขียนวิธีการใช้งานในภาพรวมเกี่ยวก้บโปรแกรม 12 ไว้ ซึ่งเดิมอยู่ในเว็บไซต์นี้ แต่เนื่องจากในการบริหารข้อมูลลำบากเลยได้ย้ายข้อมูลต่างๆๆ ไปยังเว็บ https://nst-green.name/category/i2-analysts-notebook/
Table of Contents
สำหรับในบทความนี้ แค่เป็นการเกริ่นนำทั่วไป ไม่มีอะไรมาก เป็นแค่การบ่น และการเล่าเรื่องทั่วไป ที่พบในขณะเขียนบทความดังกล่าว แต่ต้องยอมรับว่า แม้ว่าจะใช้งานโปรแกรมมาเป็นเวลาอันยาวนาน แต่ พอจะเขียนเป็นบทความเพื่อร้อยเรียงให้ออกมาแล้วคนอ่าน สามารถอ่านง่ายและเข้าใจ มันทำได้ยากมากๆๆ
ส่วนหนึ่งน่าจะมาจาก อ่อนวิชาภาษาอังกฤษ แต่ในโปรแกรมไม่มีภาษาไทย ในการอธิบายเลยต้องอาศัยภาษาอังกฤษ เป็นหลัก คำบางคำ หากแปล เป็นไทยแล้วมันจะยาว แต่ ถ้าเขียนเป็นภาษาอังกฤษ บางที คนเริ่มศึกษา อาจจะงง และไม่เข้าใจ แต่ ….หากอธิบายภาษาไทย บางทีมันกลับงง ยิ่งกว่า เพราะในคำ คำเดียว บางทีแปลไม่เหมือนกัน
ไม่ต้องดูอื่นไกล ให้ยกมือถือของเราเอง แล้วไปเปรียบเทียบกับของเพื่อน แต่เพื่อนใช้คนละยี่ห้อหรือคนละรุ่น และส่วนมากจะกำหนดเมนู เป็นภาษาไทย บางเมนูเมื่อเขียนหรือเราปรับหน้าจอให้เป็นภาษาอังกฤษ จะเขียนเหมือนกัน แต่พอปรับหน้าจอให้แสดงภาษาไทย การแปลจะไม่เหมือนกัน นั้นคือปัญหาใหญ่
ยกตัวอย่างง่ายๆๆ อีกครั้ง ในการนำเข้าข้อมูลโปรแกรมจะมีตัวช่วยให้เราจนเสร็จทุกขั้นตอน ในระหว่างที่เราดำเนินการหรือดำเนินการเสร็จแล้ว จะมีตัวเลือกให้เราบันทึกขั้นตอนการนำเข้าทั้งหมดที่เราดำเนินการโดยเราเลือกเอง หรือกำหนดเองในแต่ละขั้นตอน แล้วบันทึกตั้งชื่อไว้ หากในคู่มือ เขาแค่เรียกว่า Import Specification แต่พอมาเขียนบทความเป็นภาษาไทย ต้องเขียนว่า การกำหนดรูปแบบการนำเข้าตามที่เรากำหนดเอง จะเห็นว่า ยาวมาก บางทีเขียนแต่ละครั้งไม่เหมือนกัน แต่ หากเขียนภาษาอังกฤษ ตรงๆๆ คนที่เข้ามาอ่านใหม่ๆๆ ไม่เข้าใจ แต่ ไม่ใช่เท่านั้น บางคนอาจจะว่ามันดัดจริต ไม่ยอมเขียนภาษาไทย
นั้นคือปัญหาในการเขียนบทความเกี่ยวกับการใช้โปรแกรม i2
ยังมีอีก อย่างเช่นในการขั้นตอนการสร้างชาร์ต ในคู่มือบอกแค่ว่า ให้ Add Item หากแปลเป็นไทย แปลว่าการเพิ่มรายการ แต่ในรายการนี้ จะรวมถึง Entities,Link ด้วย ปัญหามันตามมาอีก หากคนไม่เข้าใจและเราเขียนว่า “ในขั้นตอนแรก ต้องเพิ่มรายการลงไปในชาร์ตก่อน” คนเพิ่งเรียนรู้ พออ่านเจอจะงง รายการคืออะไร เปิดโปรแกรมแล้วไม่เจอรายการอะไรที่ต้องเพิ่ม แต่หากเราอธิบายต่อว่า รายการคือ Item เหมือนเดิมอีกคือ Item คืออะไร ในโปรแกรมไม่เห็นมี ดังนั้น เราต้องเขียนเพิ่มเติมลงไปอีกว่า Item ให้รวมถึง Entities และ Link ตอนนี้แหละที่เขาจะหาพบว่า ออ เป็นการเพิ่ม Entities และ Link แต่เรียกรวมกันว่า เป็นการเพิ่มรายการ หรือ Add Item
จะเห็นว่า เราจำเป็นต้องคิดว่า เราจะพิมพ์คำว่า เพิ่มรายการ หรือ Add Item หรือเพิ่ม Entities และ Link หรือพิมพ์ทั้งหมดเพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจอย่างดี แต่ มันมีปัญหาตรงเสียเวลาในการสร้างบทความ
เพราะฉะนั้นสิ่งแรกที่เราต้องทำ เพื่อเป็นการเรียนรู้สำหรับใช้งาน นั้นคือ เปิดโปรแกรมขึ้นมา แล้ว กด F1 เพื่ออ่านคู่มือ หลังจากที่เรากับเรียนรู้ จากคนอื่นที่เขาแนะนำไม่เข้าใจตรงไหน ให้กด F1 เพื่อดูว่าตอนนี้ที่เรากำลังเรียนรู้อยู่ในขั้นตอนไหน หรือไม่หากเราทำงานและเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต เข้าไปอ่านเพิ่มเติมเวลาติดขัดได้ที่ https://docs.i2group.com/anb/9.4.1/analysts_notebook_welcome.html
โปรแกรม I2 คืออะไร
โปรแกรม I2 คือโปรแกรมสำหรับวิเคราะห์ หรือประมวลผล มันเป็นเครื่องมือที่ทำหน้าที่แปลงข้อมูลออกมาเป็นภาพ มันก็คือชาร์ตนั้นแลหะ และภายในชาร์ตนั้นจะประกอบไปด้วยรายการต่างๆๆ นั้นก็คือ Entities,link
โดย Entities เป็นตัวแทนที่ให้ความหมายถึงวัตถุจริงๆๆ บนโลกใบนี้ จำง่ายมันคือคำนาม
ส่วน Link คือการแสดงความสัมพันธ์ จำง่ายๆๆ มันคือกริยา
ข้อมูลที่เราเขียนชาร์ตเองกับมือหรือในกรณีที่เราใช้วิธีการนำเข้าข้อมูล ข้อมูลดังกล่าว มันจะถูกเก็บอยู่ใน Entities,Link อยู่ในคุณสมบัติรายการดังกล่าว
ให้ลองสังเกตุดู เมื่อเปิดโปรแกรมขึ้นมา ในชาร์ตจะว่างเปล่า หากเราต้องการเขียนชาร์ต สิ่งแรกที่ต้องทำคือเพิ่มรายการลงไปในชาร์ต มันก็คือขั้นตอนที่เราลาก Entity และ Link ลงไปในชาร์ตนั้นแหละ เมื่อเราลากลงไปเสร็จ โปรแกรมจะกำหนดคุณสมบัติมาให้เบื้องต้น แล้วเราต้องเข้าไปแก้เพิ่มเติมให้เป็นไปตามที่เราต้องการ
แต่ ยังมีคุณสมบัติอีกตัวที่ หากเราต้องการจะใช้งานเราต้องเพิ่มเข้าไปเอง และกำหนดค่าใหม่เอง โดยที่โปรแกรมไม่ได้กำหนดค่าเบื้องต้นมาให้ นั้นคือ Attributes สามารถกำหนดได้ทั้งใน Entities และLink แต่ส่วนมากเท่าที่เจอมักจะกำหนดใน Link เพราะ Link ไม่มีค่า Identity ในการใช้งานสำหรับวิเคราะห์ เราเลยต้องพึ่งพา Attributes แทน
ขั้นตอนการออกมาเป็นภาพหรือเป็นชาร์ต
อธิบายเบื้องต้นมานิดหน่อยแล้ว แต่ขอเพิ่มเติมให้เป็นรูปแบบสักนิด ในการนำเสนอข้อมูลของเราเพื่อให้ออกเป็นชาร์ตหรือออกมาเป็นภาพ มีหลักการ 2 อย่าง
อย่างแรกคือเราเขียนชาร์ตเอง โดยมีหลักการ 2 อย่างคือ
- เพิ่มรายการลงไปในชาร์ต ความหมายคือเพิ่มหรือลาก Entity กับ Link ลงไปยังชาร์ตที่เราต้องการสร้าง
- เพิ่มหรือแก้ไขคุณสมบัติของ Entity,link ที่เราเพิ่มเข้าในชาร์ต ให้เป็นไปตามที่เราต้องการ
อีกอย่าง กรณีที่เรามีข้อมูลมาก และเป็นข้อมูล ที่อยู่ในลักษณะฐานข้อมูล คือมีแถวกับคอลัมภ์ เราสามารถเอาข้อมูลนั้นแหละมาสร้างให้แสดงผลบนชาร์ตของเรา จากเดิมเป็นข้อมูลที่ดูยาก แต่เมื่อใช้โปรแกรมดังกล่าวช่วย มันจะเอาข้อมูลออกมาเป็นภาพ ทำให้เราเข้าใจได้ง่าย ไม่ว่าตัวเราเองหรือคนอื่น เป็นโปรแกรมที่ช่วยในการนำเสนอ
ส่วนวิธีการนำเข้านั้น โปรแกรมจะมีตัวช่วยให้เรานำเข้าข้อมูล ดังนั้น เราต้องเข้าใจขั้นตอนในการนำเข้าแต่ละขั้นตอนที่โปรแกรมสร้างขึ้นมาให้เป็นตัวช่วยเราในการนำเข้า และเช่นกัน ในตัวช่วยที่โปรแกรมสร้างขึ้นมา จะมีอยู่ขั้นตอนหนึ่งที่เรียกว่า Import Desgin จะใช้หลักการเดียวกับเราเขียนชาร์ตด้วยตัวเอง เพียงแต่โปรแกรมจะสร้างให้เบื้องต้นแล้วในการนำ Entities,Link เข้ามาในชาร์ต พร้อมกับให้เรากำหนดคุณสมบัติโดยการเลือกตัว Entity,link เพื่อแก้ไขหรือสร้างคุณสมบัติให้กับมัน
แต่อย่าลืม… โปรแกรมดังกล่าวมันเป็นแค่ เครื่องมือ หากเราใช้เป็นแต่ไม่สามารถวิเคราะห์หรือประมาลผลได้ มันก็ไม่ได้ประโยชน์อะไรมากเท่าไร หากจะเปรียบให้เห็นชัดที่สุดคือคือคนขับรถเป็นกับขับรถชำนาญ จะแตกต่างกัน เช่นกันในการใช้งานโปรแกรม หากขณะเราใช้งาน เรามีอาการชงัก หรือไม่สามารถพลิกแพลงหรือเข้าใจโครงสร้างของมัน นั้นแสดงว่า เรายังไม่เก่งพอ ต้องศึกษาและทำความเข้าใจกับมันให้มากขึ้น
การเรียนรู้ทุกอย่าง ถ้าจะให้ดีและเข้าใจมากที่สุดคือรู้โครงสร้างของมัน รู้ขั้นตอนการทำงาน รู้เป้าหมาย หลัก และพื้นฐานสำคัญที่สุด แม้ว่า เราจะไม่เข้าใจลึกถึงแนวทางในการสร้างหรือพัฒนาโปรแกรมของผู้ผลิต แต่หากเราเข้าใจโครงสร้าง ขั้นตอน การเรียนรู้มันแทบจะไม่ยากอะไรเลย
ยกตัวอย่างง่าย อย่างเราจะสร้างภาพ หรือสร้างชาร์ต สักภาพหรือสักชาร์ต สิ่งที่อยู่ในมือของเราที่เราต้องมีคือข้อมูล หากเป็นการเขียนชาร์ตด้วยตัวเอง ข้อมูลอาจจะอยู่ใน Word ซึ่งเป็นร้อยแก้ว หรือหากเราต้องการนำเข้าก็ต้องมีข้อมูลที่อยู่ในลักษณะของฐานข้อมูล นั้นคือต้องมีแถวและต้องมีคอลัมภ์ หากไม่เป็นในลักษณะดังกล่าว เราก็ต้องสร้างเอง โปรแกรมที่นิยมมากที่สุดคือ Excel เพราะมีแถว มีคอลัมภ์มาเรียบร้อยแล้วมันดูง่าย แต่
ในความเป็นจริงแล้ว ไฟล์เท็ก ทั่วไปก็เอามาใช้ได้ เพราะเป็นแถวและคอลัมภ์เหมือนกัน เพียงแต่ เราแยกระหว่างคอลัมภ์โดยใช้ช่องว่าง แต่อาจจะผิดพลาดได้บ้าง ก็ไม่เป็นไรเพราะในขั้นตอนการนำเข้าจะมีตัวช่วยในการจัดการคอลัมภ์อยู่ เราสามารถดูแล้วแก้ไขในขั้นตอนต่อมาได้หรือ อาจจะกลับมาแก้ในต้นฉบับแล้วนำเข้าใหม่ได้
แนวคิดของโปรแกรม
ส่วนนี้เคยเจอใน youtube ที่ทางผลิตโปรแกรมดังกล่าว ได้ทำออกมาเพื่ออธิบาย ในแนวรวบรวมคำถามของผู้ใช้งานและมาตอบให้ทราบ มันเลยไม่มีในคู่มือ แต่น่าเสียดายตอนนี้ ใน Youtube หาไม่พบเสียแล้ว เลยไม่สามารถอ้างอิงได้ เพราะฉะนั้น หากใครอ่านมาแล้วจะเชื่อหรือไม่เชื่อก็ไม่เป็นไร แต่ขออธิบายเท่าที่เคยฟังและจำได้ ว่าในการสร้างโปรแกรมเขามีแนะคิด หรือคอนเซ็บว่า อย่างไรในการกรณีที่เราใช้งานแล้วต้องการให้ออกมาสมบูรณ์ โดยเฉพาะในขั้นตอนการวิเคราะห์หรือในกรณีที่เรานำเข้าข้อมูลจำนวนมาก แล้วไม่ทำให้เกิดข้อผิดพลาดขึ้น แต่หากเราไม่เข้าใจแนวคิด อาจจะเกิดข้อผิดพลาดขึ้นได้
แนวคิดคือ ในการสร้างรายการในชาร์ต หรือในขั้นตอนการนำเข้า รูปแบบระหว่าง Entities กับ Link จะต้องเป็นไปตามรูปแบบของ ดัมเบล นั้นคือในการเขียนชาร์ตทุกครั้ง หรือนำเข้าทุกครั้งจะต้องอยู่ในรูปแบบของตัวยกนำ้หนัก นั้นคือ
1.ต้องมีลูกตุ้มยกน้ำหนัก 2 ด้าน และลูกตุ้มนั้น เปรียบเสมือน Entity เพราะฉะนั้นในชาร์ตจะต้องมี Entity 2 ตัวทุกครั้ง
2.ด้ามตัวที่เราจับเพื่อยกน้ำหนัก เปรียบเสมือน Link จะต้องมีเพือเชื่อมต่อระหว่างลูกน้ำหนักหรือ Entity 2 ตัว
นั้นคือแนวคิด เพราะว่า หากเราดำเนินการตามนั้น มันจะสะดวกในการวิเคราะห์ เมื่อว่าเราเขียนชาร์ต จะอธิบายต่างๆๆ ได้อย่างละเอียดในกรณีมี Entity เดี่ยว แต่ เมื่อเรานำไปวิเคราะห์เพื่อหาความเชื่อมโยง มันจะออกมาไม่สมบูรณ์แบบ
ยกตัวอย่าง หากเราเปรียบ Entity คือคำนาม Link คือคำกริยา หากเรากำหนดแค่คำนาม แล้วเราไม่อธิบายประกอบด้วยกับ Link ปัญหาหนึ่งจะตามมา อย่างเช่น เราสร้าง Entity บัญชีธนาคารมาบัญชีหนึ่ง แล้วเราเขียนหรือใช้ Entity ตัวเดียวพร้อมกับบรรยายว่า 12322155 เป็นบัญชีธนาคารของนายรวย ปัญหาแรกที่เราเจอคือแล้วเราจะกำหนด Identity อย่างไร จะเอาหมายเลข 13 หลักของนายรวย หรือหมายเลขบัญชี เป็น Identity
ปัญหาต่อมา หากนายรวยมีบัญชีธนาคาร 5 บัญชี แล้วเราเขียนเพิ่มลงไปตามจำนวน 5 บัญชี การวิเคราะห์เส้นทางการเงิน มันจะยุ่งยากทันที
แต่ ถ้าเรายึดแบบตามดัมเบล เมื่อเราจะสร้างชาร์ต ในสมองเราจะคิดทันทีว่า ต้องมี Entity 2 ตัว และ Link เชื่อมต่อกันระหว่าง 2 Entity นั้น เราคิดและเริ่มสร้างทันทีโดยจิตสำนึกของเรา จากที่เราเข้าใจแนวคิดของโปรแกรม เริ่มแรก
- สร้างบัญชีเป็น Entity หนึ่ง พร้อมกำหนดค่า Identity เป็นหมายเลขบัญชี
- สร้าง Entity คนเจ้าของบัญชีขึ้นมา พร้อมกำหนดค่า Identity เป็น 13 หลัก
- สร้าง Link เชื่อมต่อระหว่าง คน กับหมายเลขบัญชี เพราะอธิบายหรือบอก กริยาไปว่าเป็นเจ้าของ
จะเห็นว่าเป็นการสร้างครบตามแนวคิดลูกยกน้ำหนัก การอ่านชาร์ตหรือดูชาร์ต จะง่ายขึ้น ในขณะเดียวกัน เมื่อเราสำรวจเพิ่มเติมพบว่า นายรวยมีบัญชีธนาคาร 5 บัญชี เราก็แค่เพิ่ม Entity แล้วกำหนดค่า Identity เป็นหมายเลขบัญชี แล้วลากเส้นมาเชื่อมต่อกับEntity ที่เป็นคำนามแสดงความเป็นเจ้าของ แล้วเราจะเห็นภาพโดยรวมชัดขึ้นทันทีโดยที่ไม่ต้องไปแก้ไขอะไรเลย แค่เพิ่ม Entity อย่างเดียว
เป้าหมายหลักคือการวิเคราะห์ ( Analyze Tab)
เมื่อข้อมูลอยู่ในมือ สิ่งแรกที่เราต้องคิดอย่างแรกสุดคือเราต้องการทราบประเด็นไหน สร้างแนวทางวิเคราะห์ไว้อย่างไร ในขั้นตอนนี้ จะต้องวางแผน และเป้าหมายไว้ตั้งแต่ขั้นตอนการเขียนชาร์ตหรือนำเข้าข้อมูล สิ่งที่สำคัญที่สุดที่เป็นตัวนำเสนอบนชาร์ต และใช้ในการวิเคราะห์ นั้นคือคุณสมบัติของรายการ หรือคุณสมบัติของ Entity และLink โดยเฉพาะ Link เราต้องทำความเข้าใจคุณสมบัติอย่างดี รวมถึงต้องวางแผนในการกำหนด Attribute ให้ถูกต้อง เพราะ Link ไม่มี Identity ตัวช่วยในการวิเคราะห์เราจึงต้องอาศัย Attributes แทน
เมื่อเรากำหนดประเด็น หลักการ เป้าหมายที่ชัดเจนแล้วถึงลงมือทำงานผ่านโปรแกรม เพื่อเป้าหมายหลักคือวิเคราะห์ข้อมูลในแทบ Analyze ยกเว้น เราแค่ต้องการนำเสนออย่างเดียว หรือเพื่อให้ออกมาเป็นเส้นไยแมงมุม อย่างเดียว อันนั้นไม่ต้องคิดอะไรมาก
ในการใช้คำสั่งวิเคราะห์ หากเราสังเกตุดู คำสั่งมันจะรวมเป็นกลุ่ม และแยกออกเป็นส่วนๆๆ อย่างเช่น การค้นหาคำ วลี ตัวเลขต่างๆๆ มันจะเป็นกลุ่มของมัน ส่วนการหาความเชื่อมโยงหรือเครือข่าย มันก็จะแยกเป็นกลุ่มของมันที่เราสามารถเลือกใช้งานตามความเหมาะสมได้
เพราะฉะนั้น เราต้องแยกแยะให้ออกว่า เราจะค้นหาคำ หรือค้นหาการเชื่อมต่อ หรือค้นหาในเชิงสถิติ ที่ใช้ Attribute เป็นตัวหลักในการค้นหา แต่ ขอย้ำอีกครั้งว่า ทุกสิ่งทุกอย่างมันต้องมาจากการสร้างข้อมูล ไม่ว่าจะเป็นการเขียนชาร์ตหรือการนำเข้าข้อมูล ในขั้นตอนการกำหนดคุณสมบัติให้กับรายการต่างๆๆ หากเรากำหนดไว้อย่างเป็นระบบและเข้าใจมันดี ในขั้นตอนการวิเคราะห์ เราสามารถออกมาเป็นประเด็นตามที่เราวางแผนได้อย่างสบายๆๆ
สรุป พื้นฐานเบื้องต้นที่แนะนำว่าต้องเรียนรู้ก่อน
อ่านมาถึงจุดนี้ แล้วสำหรับมือใหม่ น่าจะต้องเริ่มต้น จากการเข้าใจคำว่า Entities ,link ,Properties ว่ามันเกี่ยวข้องเกี่ยวเนื่องกันอย่างไร โดยเฉพาะในกรณีที่เราต้องการให้การแสดงผลบนชาร์ต อีกทั้งรวมถึงสำหรับการใช้งานในด้านการวิเคราะห์ต่าง ๆๆ เราต้องเข้าใจลงลึกถึงคุณสมบัติ (Property) ของแต่ละตัว อย่างเช่น พวก Identity ,Label รวมถึงการสร้าง Attributes เพื่อสำหรับใช้วิเคราะห์เมื่อเราดำเนินการเสร็จสิ้นแล้ว
การเขียนชาร์ตมันมีหลักการง่าย ๆๆ แค่เราเข้าใจ จากที่อธิบายมาแล้วข้างต้น ทั้งขั้นตอนการสร้างชาร์ตหรือนำเข้า สิ่งที่เราต้องเรียนรู้แล้วเข้าใจคือพื้นฐานว่า Entities คืออะไร หากอธิบายง่ายๆๆ มันคือคำนาม
ต่อมาเราต้องทำความเข้าใจต่อว่า Entity มีการแบ่งเป็นรูปแบบอย่างไร ประเภทอะไรบ้าง
เมื่อเราเข้าใจ Entities แล้วต่อมาก็ต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับ Link ว่า ทำหน้าที่อะไร หากอธิบายง่ายๆๆ เช่นกัน มันคือคำกริยา เพื่อแสดงอาการต่างๆๆ ให้เห็นว่า คำนามคือ Entities ทำอะไรหรือมีความเกี่ยวข้องกันอย่างไรบ้าง
เมื่อเราเข้าใจ Entities,link แล้ว สิ่งที่คิดว่าสำคัญที่เราต้องทำความเข้าใจต่อคือ คุณสมบัติของ Entities ,Link หากอ่านคู่มือจะเขียนว่า Item Properties ส่วนนี้ สำคัญเพราะมันจะอธิบายบนชาร์ตตามที่เราต้องการ ในขณะเดียวกัน ส่วนนี้เช่นกันที่ใช้สำหรับการวิเคราะห์ต่างๆ เช่นการค้นหา การหาความเชื่อมโยง ตัวหลักที่ใช้สำหรับวิเคราะห์ที่เป็นคุณสมบัติของ Entity คือ Identity ที่เราต้องทำความเข้าใจเช่นกันว่า หลักๆๆ ในการกำหนด Identity มีหลักอย่างไร รวมถึงการเพิ่ม Attribute ที่เป็นตัวช่วยในการวิเคราะห์ โดยเฉพาะในกรณีของ Link เนื่องจาก Link ไม่มี Identity ตัวช่วยในการวิเคราะห์ที่สำคัญคือการสร้าง Attributes ให้กับ Link เพื่อช่วยเสริมในการวิเคราะห์
เมื่อเราทำความเข้าใจเกี่ยวกับ Identity แล้ว ก็ต้องเข้าใจอีกตัวที่เป็นของคู่กัน นั้นคือ Label เหตุผลที่บอกว่า คู่กันเพราะว่า โปรแกรมจะกำหนดให้ตัวที่แสดงผลบนชาร์ตคือ Label แต่ในเบื้องต้น ตอนที่เราลาก Entity เข้ามาในชาร์ต ส่วนที่แสดงผลบนชาร์ตมันก็คือ Label ตามที่โปรแกรมกำหนด เพียงแต่ตัว Label นั้นจะเอาค่า Identity มาแสดงผล ยกเว้น เรามากำหนดที่หลังว่า ให้ Identity แตกต่างกับ Label ถึงตอนนั้นแหละ Label จะแสดงผลด้วยค่าของตัวมันเองตามที่เรากำหนดให้กับมัน
นั้นคือรายละเอียดเบื้องต้นที่น่าจะต้องรู้หรือทำความเข้าใจก่อน หากอ่านแล้วไม่เข้าใจที่เขียน แนะนำว่า ให้กลับไปศึกษาเกี่ยวกับพวกนั้นก่อน เพราะหากเราไม่เข้ามันจะมีปัญหาในตอนที่เราใช้งานด้านการวิเคราะห์ เพราะเราต้องกำหนดค่าพวกนั้นในการค้นหา
เอาเป็นว่าค่อยเขียนต่อ เมื่อว่างเกี่ยวกับโปรแกรม I2 แต่ถ้าใครสนใจเข้าไปอ่านต่อได้ที่เว็บอีกเว็บที่สร้างขึ้นมาเพื่อเป็นบทความโดยเฉพาะ
เดี่ยวขอนอกเรื่องต่ออีกนิด
วันนี้ เป็นอีกวันหนึ่งที่ร้อนแต่ไม่มาก ลมพัดเป็นระยะ วันนี้เก็บตกรายละเอียดเกี่ยวกับงานที่สร้าง สถานที่สำหรับทำงานและพักผ่อนต่อ โดยเริ่มกิจกรรม แต่เช้า เหมือนเดิม เดิน เพื่อออกกำลังกาย 30 นาที รู้สึกว่า การเดินตอนนี้ เป็นเรื่องปกติเสียแล้ว น่าจะเป็นนิสัยใหม่ของตัวเอง การเดินสิ่งที่ได้มากที่สุดคือการปลุกตัวเองให้ตื่น ให้ร่างกายพร้อมที่จะรับกับวันใหม่ มันเป็นการออกกำลังกายที่พอดี
เมื่อก่อนตอนเช้า บางทีชอบวิ่ง เมื่อวิ่งสิ่งที่ตามมา บางทีเหนื่อยมาก รู้สึกเพลีย แต่การเดิน ไม่มีอาการดังกล่าว มันตรงกันข้าม ไม่รู้สึกเหนื่อย แต่ร่างกายได้ตื่นตัวพร้อมที่จะรับวันใหม่ของแต่ละวัน
นั้นคือนิสัยหนึ่ง ที่สามารถสร้างให้กับตัวเองได้ จากที่เริ่มทีละนิด โดยการเอาชุดเดินมาไว้ในห้องนอน ตอนเช้า สวมชุดแล้วออกเดินเลย แม้ว่าช่วงแรกๆๆ ไม่อยากเดิน น่าจะเป็นเพราะว่า ร่างกายเราชอบความสบาย แต่ตอนนี้ วันไหนไม่ได้เดิน รู้สึกว่า มันขาดอะไรไปสักอย่าง ร่างกายไม่สดชื่น เหมือนกับว่าไม่ได้ปลุกร่างกาย
เอาเป็นว่า น่าจะต้องรักษานิสัยนี้ไว้ให้ดี และพัฒนาในการเดินมากยิ่งขึ้น
editor's pick
latest video
news via inbox
ต้องการรับข้อมูลข่าวสาร