เริ่มลงมือซ่อมหัว Knuckle
วิธีการทาจารบีและซิลิโคน สามารถดูได้จากที่นี้ https://nst-green.name/steering-knuckle-service-sj413/ หรือจากเมนู knowledge จากเว็บนี้ และเหตุผลที่ไม่ได้อธิบายขั้นตอนในการรื้อและการประกอบไว้ แนะนำแค่วิธีการทาจารบีและซิลิโคน เป็นเพราะหากดูในเว็บต่างๆๆ รวมทั้ง youtube จะมีคำแนะนำในการติดตั้งและประกอบมากแล้วเลยไม่อยากอธิบาย
แต่เหตุผลที่อธิบาย การทาจารบีและการทาซิลิโคน ในที่เขาแนะนำต่าง ๆๆ รู้สึกว่า จะไม่สมบูรณ์ และได้ลองทำตามปรากฏว่า มีน้ำยังเข้าได้อีกเลยหาคู่มือการซ่อม และพบว่าต้องทาจารบีให้ตรงจุด และทาซิลิโคนให้ตรงจุด เลยแนะนำแค่ในส่วนนั้น

หลังจากที่ได้รถมาประมาณ 11 โมงของเมื่อวาน ตอนบ่ายนอนเล่นนิดหนึ่ง หลังจากนั้นลงมือรื้อ ปรากฏว่า ตรงหัวกะโหลกมันเป็นรอย (ส่วนที่พ่นสีเขียวไว้) ขัดด้วยลูกหมูก็ไม่หายเป็นรอย ตอนแรกกะว่า จะเอากาวเหล็กมาทาแล้วขัดใหม่ ดูท่าน่าจะใช้เวลานาน และต้องหากาวเหล็ก ในตู้เย็นอีก
พอดี เหลือบไปเห็นสีสเปร์ ที่ซื้อมาผิด ตอนแรกซื้อมากะว่าจะใช้พ่นทับตรงที่มีรอยขีดข่วน แต่ปรากฤว่า สีไม่เหมือนกันเลยเก็บไว้ จะพ่นสีดำก็เสียดาย เพราะต้องใช้มากในงานเกี่ยวกับซ๋อมรถ และก็คิดว่า ในส่วนนั้น ก็ไม่ได้มีส่วนไหนที่โผล่ออกมา เลยใช้สีเขียวพ่น
เหตุผลที่พ่น เพื่อให้ผิวมันเรียบ ให้สีไปอุดตรงรอยเล็กๆๆ เมื่อตอนที่ซีลหัวกะโหลกทำงาน มันจะกวาดจารบี และป้องกันระหว่างหน้าสำผัสได้ดีขึ้น อย่างน้อยๆๆ ป้องกันน้ำไม่ให้เข้ามาข้างในได้มาก แม้ว่าจะลุยน้ำก็ตาม แต่ จริงๆๆ แล้วหากเราเลยน้ำบ่อย น่าจะต้องรื้อมาอัดจารบี หลังลุยน้ำหรือเมื่อเราคิดว่า น่าจะไม่มีน้ำท่วมแล้ว
พ่นสีเสร็จ รอให้สีแห้ง เลยเสียเวลาตรงนั้นไปบ้าง ช่วงจังหวะดังกล่าว เลยทำความสะอาด และอัดจารบีตรงลูกปืน
ในการทำงานเกี่ยวกับการซ๋อมรถ หากเราสนใจ เราจะพบว่า สิ่งที่เราได้มาคือประสบการณ์ในการทำ แต่ละครั้ง จะมีประสบการณ์เพิ่มมาเรื่อย ยิ่งถ้าเรามีความรู้ด้านเครื่องยนต์ เราสามารถจะต่อยอดได้อีกมากมาย
วันนี้อัพเดทเว็บเพิ่มเติม จากเมื่อวาน ลงมือทำต่อ แต่ปรากฏว่าไม่เสร็จ เพราะว่าประกอบผิด และเป็นงานละเอียดอ่อน โดยเฉพาะการทำความสะอาด ส่วนมากเสียเวลาไปกับการทำความสะอาดมากกว่า และอีกอย่าง มันจะมีการทาจารบี และอัดจารบี สภาพมันเลอะมือ แต่พบเคล็ดลับโดยบังเอิญ ไม่ให้มือสกปรกมาก อย่างเมื่อก่อนทำเสร็จ ล้างมือก็ไม่สะอาด
ตอนนั้น มีคราบติดแน่น ฝังเนื้อเลย ถุงมือที่ใช้มีหลายแบบอย่างเช่นผ้า ยาง และก็อีกแบบเขาเรียกว่าอะไร จำไ่ม่ได้แล้ว แต่มันกันลื่นได้ดี ส่วนมากเมื่อก่อน เมื่อใส่ถุงมือใดแล้ว มักจะใส่อันนั้น ที่เจอปัญหาคือ
หากใช้ถุงมือยาง มันจะป้องกันคราบน้ำมัน คราบจารบี หรือคราบต่างๆๆ ได้ดี แต่เสียอย่างเดียว มันขาดง่าย
ส่วนกรณีเป็นผ้า หรือแบบอื่น ส่วนมากจะทะลุผ่านลงมือสกปรก เช่นกัน แม้ว่าจะไม่มาก แต่มันติดจนต้องล้างทุกครั้ง
สุดท้าย ในวันหนึ่ง ใช้ถุงมืออย่างทำงาน แล้วจะไปทำในส่วนที่มีคม แต่ขี้เกียจถอดถุงมือยาง เลยสวมถุงมือผ้า ลงทับอีกชั้น เมื่อทำงานเสร็จ ร้อง ออ เลย โง่มาเสียนาน
หลังจากนั้น เลยใช้วิธีการอย่างแรกสุด ใส่ถุงมือยาง หากจะทำอะไรที่มีคม หรือคิดว่าถุงมือยาง น่าจะรับไม่ไหว ก็สวมถุงมืออื่นทับอีกชั้น เป็นเสร็จเรียบร้อย หลังจากนี้ ซ่อมรถได้ง่ายขึ้น มีข้อเสียนิดเดียว หากทำงานนาน เหงื่อที่ในถุงมือยางจะมีมาก และมือซีด ก็ต้องค่อยๆๆ ถอดออก แล้วสวมใหม่
สรุปปัญหาที่เจอวันนี้ การทาซิลิโคน เขาให้หัวยาวมาด้วย มาชอบแข็งตัว เลยใช้วิธีตัดมันออกเรื่อย และที่ผ่านมา เนื่องจากเสียดายจารบี โดยอัดจารบีในหัวกะโหลกน้อยเกินไป เมื่อน้อย จังหวะที่เพลาขับทำงานมันจะหมุน และเหวี่ยงให้จารบีที่อัดไว้หลุดออกมา
ทางแก้ คืออัดจารบีในหัวกระโหลกให้พอดี อย่าให้มากเกินไป เพราะมันจะเกิดกำลังอัดของจารบีได้ แต่ต้องไม่ให้จารบีกระเด็นออกลูกปืนของเพลาขับ
และอีกกรณีหนึ่ง ตรงบริเวณเบ้าลูกปืน อัดจารบีน้อยเช่นกัน หลักการเดียวกัน เมื่อมันทำงาน จารบีมันกระเด็นออกมาได้ ต้องอัดจารบีให้มันเต็มร่อง ให้ลูกปืนวิ่งอยู่ในจารบีตลอดเวลา และกรณีลูกปืน ก็ต้องใช้จารบีสำหรับมันโดยเฉพาะเดี่ยวนี้ มักผลิตออกมาเป็นสีดำ
มีคนแนะนำในเฟล แต่มีบางคนว่า พอโดนน้ำแล้วมันละลาย อ่านแล้วนึกขำ ไม่ว่าจารบีอะไร หากโดนน้ำมันก็มีปัญหา และในการประกอบหัวกะโหลก เราทาซิลิโคน และใส่ซีล เพื่อกันน้ำอยู่แล้ว หากน้ำเข้า ก็ดี มันล้างออกง่ายไม่เหนียว เพราะหากคนใช้รถลุยน้ำและเข้าใจ มักจะรื้อหัวกะโหลกมาทำความสะอาดทุกครั้ง (ในกรณีที่ไม่มั่นใจหรือไม่เข้าใจหลักการทาซิลิโคน)
หลังจากทำไปใกล้จะเสร็จ มาตกม้าตาย เอาตอนท้าย เพราะลืมใส่ ซีลหัวกะโหลก ทำให้ต้องรื้อใหม่ แต่ก็ดีเหมือนกัน เพราะตอนรื้อใหม่ มี shim หลุดออกมาตัวหนึ่งจาก kingpin เลยรู้ว่า มีการทาซิลิโคนไว้ข้างใต้ด้วย เลยรื้อออกทุกอันมาขัดใหม่ และต้องทำความสะอาดใหม่อีกครั้ง
ในขั้นตอนการขันลูกปืนล้อ ได้ความรู้ใหม่อีกอย่าง ทั้งที่รื้อมาหลายรอบแล้ว นั้นคือ หากเราใช้เครื่องมือที่ถูกต้อง งานมันจะออกมาดี เมื่อก่อนน็อตสำหรับกวดลูกปืนล้อไม่มี ต้องใช้ไขควงทำให้เป็นร่องแล้วหมุนเข้าไป มันเป็นอะไรที่ผิดพลาดอย่างมาก เพราะหัวน็อตจะเสีย แม้ว่าจะไม่สำคัญหรือมองไม่เห็น แต่มันเสียอารมณ์
ต่อมาพัฒนาขึ้นโดยการซ์้อลูกบล็อกที่เขาทำจากท่อประปาโดยดีขึ้นเป็นรูป ราคา 300 กว่าบาท มันดีขึ้นมาหน่อย แต่ปัญหาคือขันด้วยประแจปอนด์ไม่ได้ ต้องกะระยะ เอาเอง โดยการขันให้แน่นแล้วคลายออก หลังจากนั้นลองหมุนดูการสำผัสของลูกปืนกับเปเปอร์ของมัน แม้ว่ามันจะใช้ได้ในระดับหนึ่ง แต่มันไม่สมบูรณ์อยู่ดี มาถึงตอนนี้ แล้วนึกถึงคนที่ซ่อมไม่เป็น แล้วให้ร้านซ๋อมให้ บางร้าน หากใช้วิธีการนั้น ก็น่าสงสารเจ้าของรถ
แม้ว่า ช่างบางคนที่มีประสบการณ์ สามารถหมุนดูว่า ลูกปืนล้อแน่นเกินไป หรือหลวมเกินไป ก็ตาม แต่ความรู้สึกมันสู้เครื่องมือสำหรับวัดไม่ได้
สุดท้าย นั่งหาข้อมูลน็อตขันลูกปืนล้อ พบว่าเป็นเบอร์ 50 เลยค้นหาข้อมูล สรุปพบ ราคาแค่ 200 กว่าบาทเอง แต่มันเป็นบล็อกลูกใหญ่ ขนาด 3/4 ถ้าจำไม่ผิด แต่ประแจปอนดที่มี จะมีขนาด 1/2 ในตัวนี้ จะมีแรงขัน 27 -100 NM กว่าๆๆ แต่ถ้าดูตามสเปคแล้วในการกวดลูกปืน จะใช้แค่ 10-15 Nm น่าจะใช้ไม่ได้ และอีกอย่างในคู่มือบอกว่า ตอนกวดน็อตบังคับลูกปืนต้องขันด้วยแรงขัน 80 Nm ก่อนแล้วคลายออกให้เหลือ 0 แล้วกวดใหม่ ให้ได้ 10-15 Nm ซึ่งต้องใช้ประแจปอนด์ตัวเล็ก ขนาด 1/4 ที่มีหน่วยวัด 4-25 Nm
ทางแก้คือ ต้องจากตัวแปลงจาก 3/4 >1/2>1/4 ความหมายคือในกรณีที่เราต้องใช้ประแจปอนด์ตัวใหม่ ต้องใช้ตัวแปลงจากขนาด 3/4 ให้มาใช้ 1/2 ได้
และในกรณีที่เราต้องการใช้ประแจปอนด์ตัวเล็ก (กรณีกวดแรงขันของตัวน็อตบังคับลูกปืนล้อ) ก็ต้องใช้ตัวแปลงจาก 1/2 มาเป็น 1/4
นั้นแสดงว่า เมื่อเราซื้อประแจบล็อกสำหรับกวดลูกปืนแล้ว ต้องซ์้อตัวแปลงสองตัว ตัวแรก 3/4>1/2 ตัวต่อมา 1/2>1/4
แม้ว่าในการซื้อเครื่องมือ อาจจะยุ่งยากนิด แต่มันคุ้มค่า เพราะรวมราคาแล้วเท่ากับที่เราซ์้อแบบเขาเอาเหล็กท่อมาตีขึ้นรูปให้เป็นเบอร์ 50 เพราะหากเราซื้อแบบนี้ ใช้ประแจปอนด์ไม่ได้ แล้วในการกวดบางครั้ง มันชอบหลุด เพราะมันสึกเมื่อใช้งานหลายครั้ง
แต่ พอมาเป็นประแจปอนด์ สามารถกวดได้อย่างถูกต้อง และทดสอบแล้วออกมาดีกว่ามาก มันคุ้มค่ากับการซื้อ และราคาที่เสียไป
วันนี้ ได้ 1 ล้อ อีกล้อค่อยว่ากันต่อพรุ่งนี้ และคิดว่า น่าจะง่ายขึ้นกว่าเดิมเพราะได้อะไรใหม่ๆๆ มากวันนี้ แต่คิดว่า น่าจะได้ไม่มาก เพราะที่ช้าส่วนมากคือการทำความสะอาด
หลังจากนั้น เดี่ยวค่อยมาอัพเดทเพิ่มเติม
ส่วนในการประกอบตัวเกียร์เมน และเกียร์สโลว์ ว่างจะเขียนอีกที
editor's pick
latest video

news via inbox
ต้องการรับข้อมูลข่าวสาร