เด็กบ้านนอก
เด็กบ้านนอก
โชคดีที่เกิดมา “เป็นเด็กบ้านนอก”
คำว่า เด็กบ้านนอก
คำว่า เด็กบ้านนอก หรือ คนบ้านนอก ไม่ทราบใครเป็นคนเรียกขึ้นมา เป็นคนแรก ยังมีอีกคำ คือคำว่าเด็กต่างจังหวัด บางทีก็มานั่งคิดว่า เด็กต่างจังหวัด กับเด็กบ้านนอก มันแตกต่างกันตรงไหน
แต่ถ้าวัดกันด้วยระยะทางของความห่างพื้นที่ตั้ง และตัวอักษรที่เขียน
ในความคิดเห็น คิดว่า เด็กต่างจังหวัด คือเด็กที่ไม่ได้เกิดในกรุงเทพ ฯ แต่เกิดในจังหวัดใด จังหวัดหนึ่งของประเทศไทย โดยเอา กรุงเทพ ฯ เป็นศูนย์กลางในการวัด และเป็นตัวเปรียบเทียบในเชิงของความเจริญ
คำว่า เจริญ มันวัดจากอะไร ในความรู้สึกส่วนตัวอันมีความรู้อันน้อยนิด เพราะเป็นเด็กบ้านนอกมาตั้งแต่เกิด คิดว่า เขาน่าจะวัดจากคนที่มีเงิน มีบ้านดีๆๆ มีอะไรที่มากกว่าคนอื่น
นิยามคำว่า เด็กต่างจังหวัด ด้วยตนเองเสร็จแล้ว ก็มานึกต่อว่า เด็กบ้านนอก น่าจะเป็นเด็กประเภทไหน
เด็กต่างอำเภอ ก็ไม่น่าจะใช่ เพราะสมัยเรียนหนังสือ เคยลองไปสอบในตัวจังหวัด ก็มีการใช้แล้ว ออ คนนั้นมาจากต่างอำเภอ นี่คือคำพูดที่ได้ยิน แสดงว่า
เด็กต่างอำเภอ คือเด็กที่เกิดในอำเภอนั้นๆๆๆ แต่ .. อำเภอก็กว้างอีก หากเอ๋ยถึงเด็กต่างอำเภอ ก็ต้องแยกอีกว่าเป็นเด็กในตัวอำเภอ คือนอกตัวเภอ
เพราะฉะนั้นในจุดนี้ น่าจะเริ่มวัดได้แล้ว ว่าเด็กบ้านนอก และสภาพบ้านที่อยู่นอกตัวอำเภอ ในตำบล หมู่บ้านเล็กๆๆ ที่ไม่สามารถเอาคำนิยามว่าเจริญแล้ว มาใช้ได้ นั้นคือ บ้านนอก
เมื่อลองหานิยาม คำว่าเด็กบ้านนอก ก็รู้ทันที ว่าตัวเองคือเด็กบ้านนอก อย่างเต็มตัว เต็มภาคภูมิ และยังดีใจนิดๆๆ ตรงที่ว่า ยังโชคดีอยู่บ้านเป็นเด็กบ้านนอก ไม่ได้เป็นเด็กในหมง
คำว่าเด็กในหมง ยังหานิยามไม่ได้ แต่นึกออก เพราะบ้านที่อาศัยอยู่เมื่อก่อน มันก็คาบเกี่ยว มีเส้นเล็กขวางอยู่นิดเดียว ระหว่างเด็กบ้านนนอก กับเด็กในหมง
คือภาษาครับ
ภาษากลาง เขาเรียกให้สุภาพว่า เด็กชนบท แต่ หากเรียกแบบเชิงเปรียบเทียบ เขาเรียกว่า คนบ้านนอก หรือเด็กบ้านนอก ถ้าเกิดมาแล้วอายุยังน้อย หรือเกิดมาแล้วย้ายถิ่นมาอยู่ในที่เจริญ
ส่วนเด็กในหมง คือภาษาใต้ แต่ความหมายคล้ายกัน
ไม่รู้นิยามผิดหรือถูก แต่คิดว่า น่าจะถูกบ้างไม่มากก็น้อย หรือน่าจะถูกร้อยเปอร์เซ็น
เพราะจากศึกษาชีวิตของตัวเอง เป็นคนที่เกิดมาตามที่คนทั่วไปเขาเรียกว่าบ้านนอก
รู้ชัดว่าเป็นเด็กบ้านนอก
สมัยเรียนหนังสือ นั่งรถโดยสารไปโรงเรียนที่ตัวในอำเภอ ยังจำได้ไม่ลืม หากเป็นรถสองแถว จะไม่เคยนั่งข้างในรถเลย ช่วงขาไปเรียนหนังสือตอนเช้า
เพราะ ถ้านั่งข้างในรถ พอไปถึงโรงเรียน หัวจะแดง และเสื้อจากสีขาว จะเปลี่ยนเป็นสีแดง หรือชมพู แล้วแต่ปริมาณของผุ่นที่เกาะ เพราะเส้นทางเป็นถนนลูกรัง
ทางแก้ของเรา หากเป็นผู้ชาย คือปีนขึ้นนั่งหลังคา เพราะลมจะตีไปข้างหลังรถหมด ยกเว้นกรณีเดียวที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ คือรถสวนทางกันมา อันนั้น ต้องวัดกันว่าจะมากหรือน้อย
นั้นเหตุผลหนึ่งที่ค่อยข้างจะยืนยันได้ชัดว่า เป็นเด็กบ้านนอก เพราะต้องนั่งรถสองแถว มาเรียนในเมือง เส้นทางที่วิ่งเข้าในเมือง ฝุ่นสีแดง มันบ่งบอกถึงสภาพถนนได้อย่างดี ว่ามันคือดินลูกรัง ที่เขาเอามาถมเพื่อสร้างถนน
หากเป็นดินลูกรัง แสดงว่า เกรดต่ำสุดของการสร้างถนน เพราะลูกรังราคาถูก เกรดที่เราจะวัดได้ว่าเส้นทางนั้น ยกระดับตัวเองขึ้นระดับหนึ่งแล้วคือ เส้นทางลูกรัง ต่อมาได้มีการขนหินมาถมโรยหน้า แม้ยังขรุขระ แต่ฝุ่นไม่มีแล้ว มันแสดงให้เห็นแล้ว ว่า เริ่มเข้าสู่เส้นทางที่เจริญขึ้น
ก็เห็นได้ชัดขึ้นว่า มันจริง เพราะใกล้จะถึงอำเภอที่เรียน กับที่ตอนออกเดินทางระยะทางเกือบ 12 กม. มันเริ่มมีหินให้เห็น ว่าในพื้นที่มีการถมหินแล้ว
นึกตอนเป็นเด็ก เพราะความเป็นเด็กบ้านนอก ก็ยังขำๆๆ ตอนนั้นมันเป็นความคิดที่เรียบง่าย และไม่ซับซ้อนอะไรเลย แต่ก็ยัง นึกดีใจที่มีความคิดแบบเรียบง่ายไม่ซับซ้อนนั้น มันช่วยให้การตัดสินใจบางเรื่อง ไม่ยุ่งยาก และช่วยให้ชีวิต มีประสบการณ์แปลกใหม่ขึ้น
เรื่องที่ว่านั้นคือ การเรียนต่อในชั้น ป.5 หลังจากจบชั้นสูงสุดของโรงเรียนที่ใช้ระยะทางในการเดินไปโรงเรียนประมาณ 500 เมตร
เป็นช่วงที่ต้องใช้เวลาอย่างเร่งรีบแทบไม่หายใจทุกครั้ง คือการท่องสูตรคูณพร้อมทั้งห้องให้ครบหมดทุกสูตร ทุกคนพร้อมใจกันท่องแทบไม่หายใจ เพราะนั้นหมายถึงว่า ท่องเสร็จจะได้ยินว่า เลิกเรียนกลับบ้านได้
เมื่อคำว่า เลิกเรียนกลับบ้านได้ นั่น ก็คือการเดินทางท่องโลก แม้ระยะทางจะสั้นไม่มาก สำหรับเด็กบ้านนอก แต่มันคือความสุข ได้ปลดปล่อยความคิดอันหนักอึ้งในห้องเรียนออก แล้วข้ามรั้วโรงเรียนมาเดินผ่านทุ่งนา เดินเรียงเป็นแถวอย่างมีระเบียบ ไม่มีใครเดินซ้อนกันเลย หรือแซงหน้ากัน
หน้าแล้ง อาจจะมีบ้างที่บางคนรีบ อาจจะแซงคนอื่นไป แต่ช่วงหน้าฝน น้อยมากที่จะมีการแซงคนที่เดินอยู่ข้างหน้า เพราะพวกเรามีวินัย รู้จักให้เกียรติ์ คนข้างหน้า
แต่ช่วงที่สนุกมากที่สุด คือช่วงที่น้ำในนา กำลังจะแห้ง และต้นข้าว อยู่ในช่วงที่ออกรวงแล้ว นั้นหมายความว่า ในระหว่างเดินทางกลับบ้าน จะมีกิจกรรมแน่นอน คือจับปลา กับทำปี่ด้วยต้นข้าว แล้วเดินเป่ากลับบ้าน
แต่ ความสุขดังกล่าว ก็กำล้งจะหมดไป เพราะจบชั้นศึกษาสูงสุดของโรงเรียนนั้นแล้ว และต้องหาที่เรียนใหม่
ที่บ้านมีทางเลือกอยู่ 2 ช่องทาง
ทางแรก ไปเรียนต่อที่โรงเรียนใกล้บ้านเข่นกัน แต่ไกลกว่าเดิมนิดหนึ่ง ต้องเดินประมาณ 2 กม. เพราะไม่มีรถโดยสารประจำทาง และที่บ้านก็ไม่มีรถส่วนตัว หากจะเรียนก็เดินอย่างเดียว
ทางที่สอง คือเข้าเรียนโรงเรียนในอำเภอ แต่ระยะทางไกลกว่า ต้องตื่นเช้ากว่าเดิมนิด แต่มีรถโดยสารผ่านหน้าบ้าน ไม่ต้องเดิน
ก็คิดอย่างเดียวตอนนั้น ว่าดีกว่าเดิน กับตัวช่วยในการตัดสินใจอีกอย่างคือ เส้นทางไปโรงเรียนที่จะไปเรียนใหม่ จะผ่านร้านขายหนังสือ ได้มีโอกาสเปิดอ่านหนังสือทุกวันแน่นอน ไม่ต้องแต่งตัวสวย เพื่อจะเข้าไปซื้อหนังสือในตลาด อย่างเดียว แบบเมื่อก่อน กับน้าที่เป็นครู ก็บอกว่าให้ไปเรียนที่ในอำเภอดีกว่า
เลยตัดสินใจไปเรียนต่อโรงเรียนใหม่ที่ในอำเภอ ไปสอบลองดู ปรากฏว่าสอบติด และได้อยู่ห้องเลขที่ 1 ก็ไม่คิดอะไร คิดอย่างเดียวว่าไม่ต้องเดินแล้ว และได้เดินผ่านร้านขายหนังสือทุกวัน
พอโรงเรียนเปิดเทอม ก็มีปัญหาทันที เพราะส่วนมากเขาไปเรียนโรงเรียนใกล้บ้านกันทั้งนั้น ที่ไปเรียนในตัวอำเภอมีอยู่คนเดียว รถโดยสาร ก็เลยวิ่งตามปกติ พูดง่ายๆๆ คือมีแต่รถแม่ค้าออกจากตลาด เพื่อเอาของมาขาย แต่เข้าไปในตัวอำเภอมันน้อย ก็ต้องแก้ปัญหา ตื่นแต่เช้ารีบแต่งตัว แล้วรอให้นานกว่าปกติ กันไว้เพื่อไม่ให้พลาดรถ
ช่วงขาไปเรียนไม่เท่าไร แต่ ช่วงขากลับ หากไม่รีบมาขึ้นรถ ปัญหา คือรถหมด เลยกลายเป็นเด็กดี ทันที พอโรงเรียนเลิกปั้บ รีบกลับบ้านทันที่ ไม่ไปไหน หากออกนอกเส้นทาง แสดงว่า รถหมด ต้องโบกรถ หรือลุ้นว่าจะได้กลับบ้านหรือไม่
สุดท้ายเมื่อโตขึ้น จึงได้รู้ว่า โรงเรียนที่ไปเรียนนั้น คือโรงเรียนประจำอำเภอ เด็กที่เรียนส่วนมากคือเด็กที่มีบ้านอยู่ในตลาด หรือชุมชนในตัวอำเภอทั้งนั้น และแต่ละคนส่วนมาก พ่อแม่เขามีการวางแผนการเรียนมาอย่างดี ทุกคนเขาจะมีเพื่อนหรือทีมของเขามาแล้ว จากโรงเรียนเดิมที่อยู่ในอำเภอ
และส่วนมาก เขาเรียนมาด้วยกันตั้งแต่ โรงเรียนอนุบาล คำว่าโรงเรียนอนุบาล แน่นอนว่าสถานที่บ้านนอกอย่างที่เราอยู่ไม่มี และไม่รู้จักด้วย หากรู้จักหรือมี ก็ไม่ได้เรียน เพราะไม่มีเงิน
ที่ตามมาอีกอย่างที่เพิ่งพบแต่เจอ คือในโรงเรียน หากเดินเข้าเขตพื้นที่โรงเรียน ต้องพูดภาษากลาง พูดภาษาถิ่นไม่ได้ หากจะอยากจะพูด ต้องเอาตัวเองออกจากรั้วโรงเรียนก่อนถึงจะพูดได้
ตอนนี้ ก็เป็นอันเห็นชัดเลยว่า เป็นเด็กบ้านนอกเต็มตัว เพราะสภาพแวดล้อมตอนนี้ ส่วนมากเป็นเด็กในตลาด ที่พ่อแม่ บางคนเป็นนายธนาคาร เป็นครู พนักงานวิสาหกิจ ลูกเถ้าแก่ใหญ่ในตลาด มีแต่ตัวเองที่พ่อแม่ทำนา
แต่ เพราะไม่มีคำว่าผลประโยชน์มาเกี่ยวข้อง หรือเป็นวัยที่ไม่มีการหลอกกัน เราเลยเสมอเท่ากันหมด มีแต่คำว่า เพื่อนอย่างเดียว อย่างอื่นเราแทบจะไม่เอามาเปรียบเทียบหรือเอามาเป็นเงื่อนไข คำพูด มึงกูได้ทุกคำ และมึงกู ได้จนถึงทุกวันนี้
นั้นคือจุดประกายความคิดแรก ของคำว่า “โชคดีที่เกิดมาเป็นเด็กบ้านนอก”
พอได้สำผัสกับกลุ่มเพื่อนใหม่นี้ คือเริ่มเรียนรู้ชีวิตของแต่ละคนมาให้เปรียบเทียบกับชิวิตตัวเอง บางคนต้องเรียนตลอดเวลา ตั้งแต่ชั้นอนุบาล พ่อกับแม่เขาคาดหวังกันทุกคน เรื่องการเรียนของลูกสถานที่เรียนของลูก
เมื่อหันมามองตัวเอง ซึ่งเป็นเด็กบ้านนอก แทบจะไม่กดดันอะไรเลย ได้เข้าเรียนที่ใหม่แบบไม่ได้คาดหวัง แค่คิดอย่างเดียวว่า ไม่ต้องเดินไปโรงเรียนกับได้ผ่านร้านหนังสือ เพื่อซื้อหนังสือหรือดู หลังเลิกเรียน
นี่คือผลดีของเด็กบ้านนอก หากเราเรียนใกล้บ้าน มันก็เท่าเดิมเป็นเรื่องปกติของเราไม่ได้ลดชั้นแต่อย่างใด แต่หากได้มาเรียนประจำอำเภอ มันก็ดี ไม่ต้องเดิน ได้เข้ามาเที่ยวในตลาดทุกวัน
นั้นคือความโชคดีที่เกิดมาเป็นเด็กบ้านนอก ในตอนวัยเด็ก
และมันจะเห็นชัดขึ้นในวัยทำงาน และการใช้ชีวิตประจำวัน ที่มันเกี่ยวเนื่องกับความเรียบง่าย มีตัวเลือก อาจจะมีส่วนที่แตกต่างกันบ้าง แต่มันก็อยู่ที่มุมมอง และจากการสำผัส
.แล้วค่อยมาเจอกันอีกที เพิ่มเติม ของบทความโชคดีที่เกิดมาเป็นคนบ้านนอก ภาคต่อ โชคดีที่เกิดมาเป็นเด็กบ้านนอก
editor's pick
latest video
news via inbox
ต้องการรับข้อมูลข่าวสาร