สรุปการอัพเกรด Sj413
Table of Contents
- สภาพเดิมตอนซื้อรถมาครั้งแรก
- ตัดสินใจเปลี่ยนเพิ่มขนาดล้อให้เป็นแบบล้อตะขาบ
- สรุปปัญหาที่เจอ
- เปลี่ยนกระทะล้อ แบบ ออฟเซ็ตเป็นลบ
- เปลี่ยนเป็นแหนบยก 5 นิ้ว กับโตงเตง 5 นิ้ว
- สิ่งนั้นคือการเปลี่ยนเฟืองท้ายเป็น 8/41 อัตราทดจะสูงขั้น
- ถอดสโลว์ 1000 ออกใส่สโลว์ 1300
- สรุปการอัพเกรด Sj413 สูตรที่เหมาะสม หลังจากทดสอบและเสียเงินมาพอสมควร
- เพื่อความสมบูรณ์ของระบบส่งกำลัง
- เสร็จสิ้นการปรับปรุง
- สรุป สำหรับใครไม่อยากอ่านมาก
สรุปการอัพเกรด Sj413 วันนี้น่าจะเป็นวันที่น่าจะเสร็จสิ้น ในการอัพเกรด Suzuki SJ413 แต่ ก็ยังต้องเก็บรายละเอียดอีกมาก หลังจากนั้นตอนบ่ายได้ลองไปทดสอบในสวน ผลปรากฏว่ามีผลเป็นที่น่าพอใจมาก
สิ่งที่ได้คือความเร็วต้นดี และความเร็วปลายดี แม้ว่าจะเหลือนิดๆๆ แต่ก็พอดีกับงานสวนและวิ่งกลับบ้านระยะทางประมาณ 5 กม.ที่พอดี สิ่งหนึ่งที่ได้คือค่าน้ำมันลดลง ลดภาระกำลังเครื่องลงได้
สำหรับ อะหลั่ยญี่ปุ่นมือสอง ได้สั่งซื้อจากที่นี้ เชษฐ์ ซูซูกิอะไหล่ออฟโรด ซึ่งไม่เคยผิดหวัง แม้บ้างทีเราจะดูว่าราคาแพงกว่าที่อื่น แต่มันคุ้มค่ากว่าเราซ์้อกว่าบางที่ที่ถูกกว่า เพราะเคยเจอมาแล้ว
ก่อนจะสั่งจาก เชษฐ์ ซูซูกิอะไหล่ออฟโรด ได้สั่งซื้อลูกเกียร์จากที่แห่งหนึ่ง เพราะเห็นว่าเป็นคนใต้ด้วยกัน ในราคา 3000 บาท และเป็นของไทยที่ใช้แล้ว นั้นคือมือสองเช่นกัน แต่เป็นมือสองที่ถอดจากรถที่ขายในเมืองไทย ราคาซื้อรวมค่าขนส่งแล้ว เป็นเงิน 4000 บาท หลังจากได้ของ ลองทดสอบด้วยมือก่อน ปรากฏว่า มันทำงานไม่สมบูรณ์เข้าเกียร์ไม่ได้ เลยติดต่อบอกเขาไป เขาเลยส่งตัวใหม่มาให้ ต้องเสียค่าขนส่งอีก 1000 กว่าบาท รวมแล้วเป็นเงิน 5000 บาท
ใส่แล้วปรากฏว่า มีปัญหาเหมือนเดิมเกียร์จะแข็งมาก สรุปต้องรื้อมาทำใหม่ โดยการยำสองเกียร์มาไว้ในเกียร์เดียวกันและต้องเสียค่าอะหลั่ยพวกลูกปืน 1000 กว่าบาท สรุปยอด 6000 บาท แต่ก็ยังหาลูกปืนกรงนก หรือลูกปืนเข็มไม่ได้ และดูซิงโครไนซ์ แล้วก็มีปัญหา แต่หาไม่ได้ สรุป ต้องประกอบกลับไปทั้งที่ไม่สมบูรณ์ และรู้ในทันทีว่า ถูกหลอกเพราะสภาพเฟืองต่างๆๆ มันไม่สมบูรณ์ ความคมมันไม่มี เสียค่าโง่ไปแล้ว เลยจำเป็นบทเรียน
ครั้งนี้ ไหนๆๆ จะเปลี่ยนเกียร์สโลว์แล้ว เลยซื้อมือสองญี่ปุ่นมาเสียเลยจาก เชษฐ์ ซูซูกิอะไหล่ออฟโรด ตอนได้ของมาไม่ได้ทดสอบอะไรเลยเพราะเชื่อในสินค้า หลังจากประกอบเสร็จสมบูรณ์ เป็นไปดังคาด เกียร์เมน จะนิ่มมาก รวมทั้งเกียร์สโลว์ไม่มีอาการหอนเลน และที่สำคัญคันเกียร์ หัวเกียร์ ให้มาครบหมด สมบูรณ์ บางพ่อค้า มักจะถอดเก็บไว้ขายแยกต่างหาก
สรุปแล้ว หากเรารวมพวกสิ่งต่างๆๆ ที่ได้มา ถือว่าราคาถูกกว่าตอนที่ซื้อครั้งแรกที่ถูกหลอกเสียอีก
เขียนไว้เผื่อให้แนวคิดสำหรับใครที่ต้องการอัพเกรดรถ อย่าให้โง่เหมือนที่ประสบด้วยตัวเองมา อย่างหวังของถูก แต่ให้ดูที่พ่อค้า และที่เขียนมาทั้งหมดไม่ได้อวย หรือมีส่วนเกี่ยวข้อง แต่แนะนำสำหรับใครที่เข้ามาอ่าน
สิ่งสำคัญอีกอย่างในการซื้อของคือ คนขาย เขาเข้าใจหรือไม่ว่าชิ้นส่วนไหนเป็นอย่างไร สอบถามแล้วเขาอธิบายเราได้ตรงจุดหรือไม่ หรือเขาแค่ขาย แต่ไม่รู้เรื่อง ไม่สามารถให้คำแนะนำกับเราได้ บางทีซื้อของมาแล้ว ใช้ไม่ได้บ้าง ไม่เหมาะสมกันบ้าง เพราะพ่อค้าบางคน มุ่งแต่จะขายอย่างเดียว ไม่มีความรู้เกี่ยวกับเรื่องสินค้าที่เราต้องการนำมาใช้งาน แต่ไม่เห็นของจริง เห็นแต่ในรูป เพราะซื้อผ่านออนไลน์
ตรงนี้ แหละมันสำคัญ เพราะหากพ่อค้าไม่มีความเป็นพ่อค้า จะได้มาเขาเรียกของไม่ตรงปก
ที่เกริ่นมาตั้งหมดคือประสบการณ์ และแนะนำต่อ เดียวมาสรุปเผื่อใครหลงเข้ามาอ่านแล้ว จะได้เป็นแนวทาง
สภาพเดิมตอนซื้อรถมาครั้งแรก
ประกอบด้วย (เฉพาะระบบส่งกำลัง ไม่รวมระบบช่วงล่าง)
- เครื่อง 1300 CC เครื่องเดิม
- เฟืองท้าย หน้าหลังของติดรถ ขนา 11/43
- เกียร์เมนหรือเกียร์หลัก (Transmission Gear) มีอาการหอน แต่เหยียบครัชหาย
- สโลว์ 1300 (Transfer Gear) ลองรื้อดูไม่มีลูกบอลบอกไฟ 4×4
- ล้อขนาด 30 นิ้ว
สิ่งคือเจอคือ ความเร็วตอนปลายไม่พอ ความหมายคือพอขึ้นเกียร์ 5 แล้วรถหมดแรงขับเคลื่อนได้ไม่ดี มีอาการต้องลดลงมาเกียร์ 4
ต่อมาเพื่อแก้ปัญหา และกับต้องการเปลี่ยนเป็นอะหลั่ยมือสองญี่ปุ่น เลยเปลี่ยนเกียร์สโลว์
- เกียร์สโล์ (Transfer Gear) จากเดิม 1300 เป็น 1000
ผลที่ได้ พอดี ทั้งตีนต้นและตีนปลายไม่มีปัญหา ใช้ได้สมบูรณ์ เหมาะสมสำหรับทางดำและทางออฟโรด แต่ในความรู้สึก มันด้อยนิดๆๆ ในการบุกสวน บางทีต้องใช้กำลังมากจนได้กลิ่นของครัช ที่ทำงานหนักในจังหวะที่ลุด เนื่องจากระบบมันเหมาะสำหรับวิ่งถนนดำมากกว่า
ในตอนนี้ ต้องมานอนตัดใจว่า จะเอาอย่างไรดี ระหว่างความแรงกับความเร็ว (ลุยบนเส้นทางดินโคลน กับวิ่งบนถนนดำ) สรุป ร้อยละ 80 วิ่งบนถนนในสวนมากกว่า ยิ่งในตอนหน้าฝนต้องลุยมาก (หากจอดรถเดินเสียเวลา กับอีกอย่างไม่รู้จะรู้รถแบบนี้มาทำไม ถ้าไม่เอาไว้ลุย แล้วเดินแทนมันไม่คุ้ม) เลยวางแผนหาช่วงจังหวะว่างๆ เพื่อจะอัพเกรดรถ แต่หน้าต้องใช้งบหน้าดูเหมือนกัน
นั่งคิด นอนคิด หลายวันว่าจะเอาอย่างไรดี เพราะมันไม่ใช่ของจำเป็นต้องมี แต่เพื่อประหยัดเวลาในการทำงาน เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานได้มากขึ้น เพราะเมื่อก่อนจะมีรถคันนี้ หากเอาคันอื่นไป เวลากลับช่วงหน้าฝนต้องใช้รถไถลาก เพราะติดหล่ม แต่ในตอนนั้นหลังจากที่ซื้อมา แค่ไว้ดูแลสวนทั่วไป เพราะไม่มีเวลาลงมือทำ
แต่ในตอนนี้ ลงเพิ่มอีก 12 ไร่ จากเดิมที่ระยะทางปากทางเข้าสวนและท้ายสวน ประมาณ 800 เมตร มาเพิ่มอีกออกไปด้านข้าง มันมีทางเลือก 2 ทางคืออัพเกรดรถ เพื่อให้มีเวลาทำเอง กับจ้างคนอื่นให้ทำ
แต่หากทำเอง อุปกรณ์เครื่องมือต้องพร้อมในการทำงาน หากขี่มอเตอร์ไซต์ หรือพ่วงข้างไปสวน น่าจะต้องเดินกันมาก เวลาตัดหญ้าที ฝนตกบ้าง น่าจะมีปัญหา และที่สำคัญกว่าจะออกจากบ้านได้ต้องเตรียมตัวหลายอย่าง
อย่างเช่น หากเครื่องมือที่จะใช้ในวันนั้น ว่าเราจะทำอะไร จะตัดหญ้า หรือว่าใส่ปุ๋ย หรือว่าจะทำกิจกรรมอะไรในสวน ต้องวางแผนเอาเครื่องมือไป กว่าจะออกจากบ้านเพื่อเข้าสวนได้ ต้องเสียเวลาไปหลายเหมือนกัน
เมื่อสรุปแล้วว่าวันนี้จะทำอะไร เอาเครื่องมือไปแล้วเท่าที่สามารถพาไปได้ เช่นวันนี้ตัดหญ้า แต่มันดันเจ้ากรรม ฝนตก หรือมีเหตุอะไรที่ตัดหญ้าไม่ได้ หรือเตรียมน้ำมันไปไม่เพียงพอ ตัดได้นิดหนึ่ง หมดน้ำมัน หรือเตรียมน้ำมันไปพอ แต่พอเอาเข้าจริง ยังมีเวลาเหลือแต่ต้องพักเครื่องตัดหญ้าบ้าง หรือมีอะไรต้องทำขณะตัดหญ้าเสร็จ แต่ ไปต่อไม่ได้เพราะไม่ได้เอาเครื่องมือมา
บางครั้ง เอาเครื่องมือมา แต่ผิดประเภท เช่น วันนี้ เราจะถากหญ้า แต่ฝนตกหนัก มีน้ำขังมาก จะขุดร่องเพื่อระบายน้ำ แต่เราเอาจอบถากไปขุด มันผิดประเภท น่าจะเหนื่อยน่าดู หรือ จะไปฟันตอนไม้ ที่มันรก แต่ดันได้พร้าเดียวเล็กไป เจอต้นไม้ใหญ่ฟันไม่เข้า ต้องเสียเวลา จะกลับมาเอาขวานหรือพร้าด้ามใหญ่ที่บ้าน มันก็ไม่คุ้มเวลาไปกลับ
นั้นคือปัญหาที่เจอ แต่พอมีรถ Sj413 หรือคาริเบียน (แต่ต้องเป็นแบบตู้ปลา และเป็นเครื่องคาร์บูเรเตอร์) เครื่องไม้เครื่องมือเก็บไว้ในรถหมดทุกอย่าง วางแผนว่าจะทำอะไร แต่หากไม่เป็นไปตามแผน สามารถทำอย่างอื่นต่อได้ทันที เพราะมันมีเครื่องมือเคลื่อนที่ตลอดเวลา
และที่สำคัญมาก คือ หากต้องการไปสวน แค่เปลี่ยนเสื้อผ้า แล้วขึ้นรถเข้าสวนได้เลย เพราะถุงมือ เสื้อคลุม รองเท้าบูต 3 คู่ และอุปกรณ์ต่างๆๆ สำหรับใช้ในงานสวนอยู่ในรถหมดแล้ว นั้นคือสิ่งที่ต้องการ
ในเบื้องต้นที่วงเล็บว่า ต้องเป็นตู้ปลาและคาร์บูเรเตอร์ บางคนอาจจะส่งสัย ว่าทำไมต้องเจาะจง จะเอาแบบอื่นได้หรือไม่ เพราะเป็นรุ่นใหม่กว่า และดีกว่า อย่างเช่นพวก สปอดตี้ หรือแบบที่เป็นกระบะตอนครึ่ง และเป็นหัวฉีดเครื่องใหม่ล่าสุด น่าจะดีกว่า
จริงๆๆ แล้วแต่ชอบ แต่ในความเห็นส่วนตัวที่ชอบแบบตู้ปลา เพราะว่าเราสามารถถอดเบาะหลังออก แล้วเก็บเครื่องมือได้ทุกชิ้น ฝนตกก็ไม่เปียก แต่หากเป็นแบบกระบะแคบ พื้นที่จะน้อย และการเก็บเครื่องมือมันไม่สะดวก ฝนตกมันไม่สามารถกันฝนได้
ส่วนที่ชอบแบบคาร์บูเรเตอร์ เพราะคาร์บูเรเตอร์ การทำงานมันแทบจะไม่มีระบบไฟ หรือ Ecu เข้ามาเกี่ยวข้องเลย ในการซ่อมบำรุงง่ายๆๆ ไม่มีระบบไฟเข้ามาช่วยมาก ระบบไฟมีแค่อย่างเดียวคือจุดระเบิด นอกนั้นแทบไม่มีอะไรเลยมันซ่อมง่าย หากพวก ecu ต้องเข้าใจระบบไฟ และหากเสียขึ้นมาแล้วหายาก เพราะเป็นรถเก่า 30 กว่าปีแล้ว
สรุปคือมันซ่อมง่าย ไม่มีอะไรยุ่งยาก ยิ่งถอดระบบแอร์ออกด้วย การกินน้ำมัน ก็ลดลงไปเพราะมันลดภาระเครื่องได้มากอะไรที่ไม่จำเป็นแทบจะถอดออกหมด ยกเว้นระบบไฟเพื่อใช้ในระบบแสงสว่างและสํญญาณไฟ ต่างๆๆ อันนี้ จำเป็นต้องมีครบ เผื่อไว้ต่อทะเบียนรถ จะได้ไม่มีปัญหา
เมื่อมาคิดบวกลบคูณหารแล้ว ว่า น่าจะดีหากปรับปรุงระบบรถเพื่อให้ลุยได้เต็มที่กว่าเดิม แต่พยายามทิ้งช่วงให้นานเป็นปี ดูว่ามีความจำเป็นหรือความอยากกันแน่
ตัดสินใจเปลี่ยนเพิ่มขนาดล้อให้เป็นแบบล้อตะขาบ
สุดท้ายกลายเป็นความจำเป็นเพราะเมื่อลุยสวนใหม่พื้นที่กว้าง และสภาพดินยังไม่แข็งเพราะโค่นต้นยางและไถเพื่อปรับหน้าดิน กับอีกแปลงเนื่องจากน้ำท่วมเลยต้องขุดด้วยแบคโฮ เลยตัดสินใจ เปลี่ยนล้อ เพราะล้อนั้น ดูที่เขาผลิตมาแล้ว 10 กว่าปีแล้ว อีกยางดอกยางก็หมดแล้ว ในตอนแรกคิดว่าจะหามือสอง เพราะวิ่งแค่ในสวนในจำเป็นต้องใช้ของใหม่ แต่มาคิดดูอีกที จะเข้าเสียน้อยเสียยาก เสียมากเสียน้อยอีก เลยตัดสินใจสั่งซื้อ แบบตะขาบ ขนาดล้อเพิ่มขึ้น จากเดิม 30 นิ้ว เป็น 31 นิ้ว เหตุผลที่ต้องเปลี่ยนให้มีขนาดใหญ่ขึ้นเพราะว่า ยางตะขาบจะมีขนาดเริ่มต้น 31 นิ้ว ขนาด 30 นิ้วไม่มีขายหรือไม่มีในท้องตลาด

แต่อยากใช้ยางตะขาบเพราะน่าจะลุยดี เลยตกลงใจเปลี่ยนเป็นยางขนาด 31 นิ้ว โดยสั่งซื้อเมื่อวันที่ 22 กค.2024 จากเฟส ของYuwatida Yolai ซึ่งส่งเร็วมาก และราคาไม่แพง หลังจากได้ยางมาแล้ว เนื่องจากขนาดมันใหญ่กว่าเดิม ปัญหาที่ตามมาคือ
- จังหวะเลี้ยวยางจะติดกับแหนบ
- เมื่อรถยุบตัว ยางจะเป็นรอยเพื่อตอนเลี้ยวมันจะไปขูดกับซุ้มล้อ
สรุปปัญหาที่เจอ
นั้นคือปัญหาที่เจอเมื่อเปลี่ยนขนาดล้อให้ใหญ่ขึ้นแค่ 1 นิ้วเอง ทางแก้ที่ได้สอบถามผู้รู้

เปลี่ยนกระทะล้อ แบบ ออฟเซ็ตเป็นลบ
กรณีแรกติดแหนบ ให้แก้โดยเพิ่มอเด็ปเตอร์ (ตัวเสริมให้จุดศูนย์กลางออกมาข้างน้อกมากยิ่งขึ้น ทำให้หมดปัญหาเมื่อเลี้ยวติดแหนบ) หรือไม่เพิ่มเปลี่ยนกะทะล้อให้มีออฟเซ็ตขนาดลบมากขึ้น ประมาณ -65 ในตัวเลือก 2 ตัวดังกล่าว เช็คราคาแล้ว Adepter ถูกกว่า แต่ในความคิดของตัวเองคิดว่า สำหรับรถที่ลุยไม่เหมาะสม และการทำงานของมันอาจจะมีปัญหาอื่นตามมา กับอีกเหตุผลหนึ่งคือกระทะล้อของเดิม สนิมกินจนบางแล้ว ความปลอดภัยน่าจะมีน้อย แม้ว่าราคาแพงกว่า แต่ระยะยาวน่าจะคุ้มกว่า ส่วนแหล่งที่ซื้อตามในภาพ คนขายมีความน่าเชื่อถือเพราะว่าเป็น Admin ของเฟส คนรักคาริเบียน

ตอนซื้อมา มีปํญหาอยู่ล้อหนึ่ง ตั้งศูนย์ล้อไม่ผ่าน ติดต่อไปแจ้งให้เขาทราบ เขาส่งตัวใหม่มาให้ทันที นั้นคือประสบการณ์ที่ซื้อกระทะ หากเราหวังมือสองหรือพ่อค้าไม่ชัวร์ แม้ราคาถูก แต่ หากมีปัญหาหรือซื้อมาแล้วใช้ไม่ได้ มันจะปวดหัว
หลังจากแก้ปัญหาเรื่องล้อชนแหนบตอนเลี้ยวได้แล้ว
ปัญหาตามมาคือในจังหวะเลี้ยวและรถยุบตัวมันจะไปชนกับซุ้มล้อ ทางแก้คือปาดซุ้มล้อ หรืออาจจะใช้วิธีการตีให้มันพับก็ได้ แต่ในส่วนตัว ใช้วิธีเจียร์ด้วยลูกหมู แล้วพ่นสีตาม แต่เพื่อความแน่นอน สิ่งที่ตามมาคือน่าจะต้องเปลี่ยนแหนบ
เปลี่ยนเป็นแหนบยก 5 นิ้ว กับโตงเตง 5 นิ้ว
แหนบติดรถใช้มานานมากแล้ว ตอนนี้ เกือบจะเป็นเส้นตรงแล้ว แทบไม่มีความโค้งของแหนบเหลืออยู่ คิดจะเปลี่ยนมาหลายปีแล้ว แต่ไม่เปลี่ยน เพราะคิดว่าหากมีความจำเป็นต้องเปลี่ยนน่าจะมีเหตุผลที่ดีกว่า ประกอบกับหากเปลี่ยนแล้วไม่แน่ใจว่ามันจะดีหรือไม่ เพราะต้องหามือสองอยู่ดี หากอยู่ในเมืองไม่มีปัญหามีร้านให้เราแก้ไขได้
แต่ แถวบ้านไม่มีร้านที่เกี่ยวกับแหนบที่พอเชื่อใจได้ ในตอนนี้ คิดว่าน่าจะต้องถึงเวลาเปลี่ยนแล้ว เพราะว่า แม้ว่าจะปาดซุ้มล้อแล้ว แต่ปัญหาเมื่อเลี้ยวแล้วจังหวะรถยุบตัว น่าจะมีอยู่ คือยางจะขุดกับซุ้มล้อ น่าต้องซื้อแหนบใหม่ โดยซื้อแหนบยก (แหนบที่มีความโค้งมากกว่าปกติ) สอบถามคนขาย เขาบอกว่ายก ขนาด 5 นิ้ว เลยตัดสินใจเปลี่ยนแหนบ

การเปลี่ยนแหนบ อย่าคิดว่าแค่สั่งแหนบแล้วมาเปลี่ยนแล้วก็จบ ไม่มีค่าใช้จ่ายอื่น มันไม่ใช่ เพราะมันต้องเปลี่ยนหูแหนบหรือโตงเตง บูช ต่างๆๆ ตามมาอีกหลายอย่าง สรุบ งบไปมากกว่าที่คิด แต่ เจ้าเป็นต้องเปลี่ยน เพราะรื้อครั้งเดียวแล้วให้มันจบไปเลย แม้ว่าจะทำเอง แต่กว่าจะเปลี่ยนได้มันเหนื่อยมาก เพราะมีแม่แรงตัวเดียว
หลังจากเปลี่ยนแหนบ เป็นแหนบยกสูง พับซุ้มล้อ เปลี่ยนกระทะล้อให้มีออฟเซ็ต ตามที่กำหนดแล้ว เป็นอันว่า เรียบร้อย ใช้ยาง 31 นิ้ว สโลว์ 1000 เฟืองท้ายหน้าหลัง 11/43 การวิ่งต่างๆๆ มันดี แต่เริ่มรู้สึกว่าพอล้อใหญ่ขึ้นความแรงมันหายไป
สิ่งที่สังเกตุเห็นได้ง่ายคือขึ้นเนินแล้วต้องใช้ครัชช่วย ปัญหาตามาคือกลิ่นครัชใหม้ อีกครั้ง
สิ่งที่ตามมาคือต้องอัพเกรด เพื่อเพิ่มความแรงในหน้าฝนนิด ยางแม้เป็นยางตะขาบ แต่พอโคลนเข้าไปอุดในร่องยาง มันก็หมดความหมาย เหมือนล้อธรรมดาทั่วไป เพราะโคลนมันไปอุดร่องหมดแล้ว ดังนั้น คิดว่าน่าต้องปรับความแรงอีกนิด ประกอบกับ ราคาน้ำมันมันเริ่มแพง สิ่งที่ตามมาคือของจะแพง น่าจะซื้อของที่หายาก มาตั้งไว้ จะว่าหายาก มันก็ไม่ถูกนัก หากเราต้องการหาไม่ยากมันหาไม่ยากมีคนขายอยู่มาก แต่ สภาพที่เราต้องการมีน้อย เพราะของพวกนี้ ไม่เห็นด้วยสายตา การสั่งซื้อส่วนมาก ผ่านออนไลน์ เห็นแต่รูป ต้องวัดดวงเอาเอง ดังนั้น ต้องหาพ่อค้าที่เข้าใจ แม้ว่าจะแพงกว่าชาวบ้านเขา ดีกว่าซื้อมาแล้วมีปัญหา แบบที่เคยซื้อลูกเกียร์เมน
สิ่งนั้นคือการเปลี่ยนเฟืองท้ายเป็น 8/41 อัตราทดจะสูงขั้น

นี้คือเฟืองท้ายหน้าและหลัง แบบ 8/41 จะเห็นว่า ขนาดไม่เท่ากัน ตัวหน้าจะเล็กกว่าตัวหลัง (ขวามือคือตัวหน้า ซ้ายมือคือตัวหลัง)
หลังจากเปลี่ยนเฟืองท้ายหน้าหลังปัญหาเกิดมาทันที นั้นคือตีนปลายจะเหลือมาก วิ่งในรอบเครื่องเท่ากัน แต่ความเร็วของรถกลับลดลงกว่าเดิมมาก ปัญหาเกิดจากอัตราทด เนื่องจากใช้สโลว์ 1000 ดังนั้นทางแก้คือต้องปรับอัตราทด ให้มีความเหมาะสมกับตีนต้นและตีนปลาย ทางเลือก เปลี่ยนไปใช้เฟืองท้ายเดิม คือ 11/43 กับเปลี่ยนสโลว์
แต่ หากเปลี่ยนไปใช้เฟืองท้ายเดิม ความแรงมันลดลง แต่ตีนปลายมันดี กับอีกอย่างไม่เสียเงินซื้อสโลว์ใหม่ แต่เท่ากับว่าเราขาดทุนที่ซื้อเฟืองท้าย หากถอดเก็บไว้รักษาไม่ดีขึ้นสนิม เป็นเรื่องอื่นอีก เลยตกลงใจเปลี่ยนสโลว์ จากเดิมเป็นสโลว์ 1000 มาเป็นสโลว์ 1300 ของญีปุุ่นมือง
ผลที่ได้มา เหมาะสมและสมบูรณ์
นั้นคือ ความแรงยังคงมีเหลืออยู่ ในขณะเดียวกันตีนปลายแม้จะเหลืออยู่บ้างแต่ไม่มาก หากแบ่งเป็นเปอร์เซ็นต์ ความสมบูรณ์ในการวิ่งทางหล่มโคลนหรือทางลำบาก กับเมื่อวิ่งบนถนนเรียบหรือทางดำ ให้ 80 เปอร์เซ็นต์ ส่วน 20 เปอร์เซ้นต์คือขอเสียที่วิ่งถนนดำแล้ว ยังมีรอบเหลือบ้างแต่ไม่มาก
แต่งานที่ใช้จริงส่วนมากคือ 80 เปอร์เซ็นต์เพราะใช้วิ่งในสวนส่วนมาก ในการวิ่งถนนดำวิ่งน้อยมาก แค่ระยะทางไปกลับสวน นั้นคือส่วน 20 เปอร์เซ็นต์ สรุปว่าคุ้มและออกมาได้ผลที่สมบูรณ์ คุ้มค่ากับเงินที่เสียไป
ถอดสโลว์ 1000 ออกใส่สโลว์ 1300
เพื่อแก้ปัญหาตีนปลายหลือ เลย

สรุปการอัพเกรด Sj413 สูตรที่เหมาะสม หลังจากทดสอบและเสียเงินมาพอสมควร
- เครื่อง 1300 CC เครื่องเดิม
- เฟืองท้าย ขนาด 8/41 ทั้งหน้าและหลัง
- สโลว์ 1300 มือสองญีปุ่น
- ล้อตะขาบ ขนาด 31 นิ้ว
- แหนบยก 5 นิ้ว พร้อมโตงเตง 5 นิ้ว เพื่อแก้ปัญหาติดซุ้มล้อ รวมทั้งปาดซุ้มล้อเพื่อให้ความกว้างระหว่างล้อกับซุ้มล้อให้มากกัน ป้องกันจังหวะเลี้ยว
- กระทะล้อ เอาแบบ ลบ offset เพื่อให้ล้อออกห่างจากศูนย์เดิม ไม่ให้ไปชนกับแหนบตอนเลี้ยว
จะเห็นว่า ระยะห่างระหว่างซุ้มล้อกับล้อห่างกันนิดเดียว ทางแก้ คือเพิ่มความสูงให้กับรถ มีหลายวิธี แต่ในส่วนตัวใช้วิธีปาดซุ้มล้อกับใช้แหนบยกและเพิ่มความสูงของโตงเตง
อาจจะมีบางคนคิดว่า ทำไมไม่ใช้แบบเทรินเพลา (คือเอาแหนบไว้บนเพลาหน้าและหลัง แทนที่ปกติแหนบจะอยู่ใต้เพลา) ในความเห็นส่วนตัว หากเทรินเพลา ปัญหาจะตามมามาก อย่างเช่นระบบคันชักคันส่ง เรื่องการแจ้งลงเล่ม และอีกหลายๆๆ อย่าง แต่ที่สำคัญที่สุดคือรถสูงเกินไป มันทำให้จุดศูนย์ถ่วงมันสูง มีปัญหา ขับเร็วแล้วเลี้ยว หรือเวลาขับในที่เอียงมากๆๆ มันสูงแล้วทำให้การควบคุมลำบาก
ขนาดความสูงเหมาะสมที่สุด คือสูตรตอนนี้ เพราะเหตุใด บางคนอาจจะถามมา
- ตีนต้น และตีนปลายพอดี แม้จะเหลือนิดๆๆ เวลาเราวิ่งบนถนนดำแต่มันไปช่วยในส่วนที่เราต้องการลุยได้มากกว่า เพราะวิ่งถนนดำน้อย
- ไม่ต้องมีปัญหาเกี่ยวกับการแจ้งลงเล่มเพราะดัดแปลงรถ
- จุดศูนย์ถ่วงรถพอดี
- ระบบการส่งกำลังดีขึ้น เพราะมุมชันของเพลากลางตรงบริเวณกากบาท หรือที่เขาเรียกว่า ยอย ทั้งหน้าและหลัง แทบจะไม่มีให้เห็น หากลองแทบดูกับแบบเดิม จะมีมุมชันตรงยอย ของเพลากลางมากกว่า เมื่อมีมุมชันของยอยเพลากลางพอดี สิ่งที่ได้มาคือในการเข้าเกียร์สโลว์ ซึ่งปกติขณะวิ่งจะใช้ 2H แต่ พอเปลี่ยนมาเป็น 4H หรือ 4L เมื่อก่อนเปลี่ยนยากมาก ต้องขับไปหน้าทีหลังที เพื่อให้สามารถเข้าได้ และรถต้องจอดสนิดจริงๆ ล้อหน้าต้องตรงจริงๆๆ บางครั้ง หากดันมากๆๆ จะมีเสียงดัง
ต่อมาเมื่อได้ปรับปรุงความสูงของรถให้เพลากลาง มีความชันพอดี ในการเข้าเกียร์สโลว์ จาก 2H มาเป็น 4H หรือ 4L เข้าได้สบายมาก แค่จอดรถตั้งล้อหน้าให้ตรงสามารถเปลี่ยนการขับเคลื่อนได้อย่างสบาย บางครั้ง แค่เบาความเร็ว แล้วเปลี่ยนได้เลย ไม่มีปัญหาเสียงดัง (แต่ไม่ขอแนะนำ ให้รถจอดสนิด และล้อหน้าตรงก่อนถึงจะเปลี่ยนจะดีกว่า ปลอดภัยต่อรถมากกว่า)

เพื่อความสมบูรณ์ของระบบส่งกำลัง
เลยตัดสินใจเปลี่ยนคู่กัน ทั้งเกียร์เมนและเกียร์สโลว์

เกียรทั้งสองแบบหลังจากที่ทำความสะอาดแล้ว จริงๆๆ แล้ว บางคนคิดว่ามันอยู่ใต้รถมันสกปรกอยู่แล้ว ไม่ต้องทำความสะอาดก็ได้ แต่ หากไม่ทำความสะอาด ปัญหาตามมาคือ เราจะหาจุดที่รั่วซืมของน้ำมันได้ยาก และการระบายความร้อนต่างๆ ออกจากตัวเกียร์ มันระบายความร้อนได้ไม่ดีพอ ยิ่งมีจุดรั่วซืมที่เราไม่รู้แล้วมีฝุ่นมาเกาะยิ่งทำให้การระบายความร้อน มันทำได้ยากขึ้น
เสร็จสิ้นการปรับปรุง
กว่าจะเขียนบทความจบ มีปัญหาเกี่ยวกับโครงสร้างเว็บ เลยหยุดไปปรับปรุงเสียหลายวัน

หลังจากอัพเดทเสร็จ รถสมบูรณ์ขึ้น หากมองในภาพดูว่า รถสวย แต่ภายในแทบไม่มีอะไรเลย สายไฟต่าง ๆๆ เอาออกหมด ใช้เฉพาะที่จำเป็น นั้นคือ
ระบบส่งกำลัง
ระบบช่วงล่าง
ระบบเครื่องยนต์
ส่วนห้องโดยสาร ไม่มีอะไรมากแค่เน้นเบาะให้นั่งได้สบาย กับมีคอนโทรลตัวเดียว แอร์ต่างๆๆ ถอดออกหมดเพื่อให้ลดภาระการทำงานของเครื่อง นอกนั้น พวกเบาะหลังต่างๆๆ ถอดออกหมดเพื่อใช้พื้นที่สำหรับเก็บของ และเครื่องมือเคลื่อนที่ เน้นเข้าสวนอย่างเดียว แทบจะไม่มีอุปกรณ์อำนวยความสะดวกแต่อย่างใด
สรุป สำหรับใครไม่อยากอ่านมาก
สูตรที่แต่งและความเร็วตีนต้นดี ตีนปลายเหลือนิดๆ กำลังสวย ไว้เผื่อลุด และวิ่งบนถนนดำได้เหมาะสม (เพราะเน้นงานสวน)
- เครื่องเดิม 1300 CC
- เกียร์เมน มือสองญีปุ่น(รุ่นไม่มีช่องตรงเดือยหมูเพื่อดูฟลายวีล คนขายบอกเป็นรุ่นใหม่ล่าสุด)
- เกียร์ สโลว์ 1300
- เฟืองท้าย หน้าหลัง 8/41
- แหนบยก 5 นิ้ว โตงเตง 5 นิ้ว
- ล้อตะขาบ 31 นิ้ว
- กระทะล้อออฟเซ็ต -65