Arch Linux

Last Updated: 19/07/2023By

Arch Linux คืออะไรทำไมจึงมีบทความแนะนำ

จริงๆแล้วในบทความที่เกี่ยวกับการใช้งานไลนุกซ์นี้ เกิดจากพื้นฐานด้านการเงินในการจัดหาหรือซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์ครับกับต้องการใช้ทรัพยากรเกี่ยวกับเรื่องนี้ให้คุ้มค่ามากที่สุด

ปกติ หากเราใช้คอมพิวเตอร์แล้ว  แล้วติดตั้งวินโดว์ สิ่งแรกที่เราต้องเจอคือ หากมีวินโดว์รุ่นใหม่มา เครื่องคอมพิวเตอร์ที่เราใช้งานอยู่ มักจะมีปัญหาคือเมื่อเราติดตั้งวินโดว์รุ่นใหม่ เครื่องมักจะช้าลง

หากไม่ติดตั้งปัญหาที่ตามมาคือการอัพเดทหรือการรองรับด้านการให้บริการจากผู้ผลิต มักจะหมดไปด้วย รวมไดว์เวอร์ต่างๆๆ ที่มักจะไม่รองรับ แม้เราจะทนใช้ไป มันก็จะมีปัญหาตามมามาก

และอีกอย่างหากคอมพิวเตอร์เราติดตั้งวินโดว์ หากให้สมบูรณ์ต้องเสียเงินซื้อไลเซนส์ รวมทั้งโปรแกรมต่างๆๆ ที่ติดตั้งก็ต้องซื้อเช่นกัน

[gap]

จะเห็นว่าคอมพิวเตอร์  มันไม่เหมือนมือถือครับ มือถือซื้อมาแล้วจะมีการติดตั้งระบบปฎิบัติการมาให้เสร็จ

เช่นเราซื้อพวก Android มาใช้งาน  พอเปิดมือถือ แค่กำหนดรายละเอียดเล็กน้อย ก็ใช้งานได้เลย (จริงๆๆ แล้ว Android มันก็คือ Linux นะครับแต่พัฒนาแพลตฟอร์มให้มาใช้ในมือถือ ล่าสุดแว็บๆๆ เห็น ไลนุกซ์ kali  ติดตั้งในมือถือได้แล้ว )

หรือเช่นกัน  iPhone  เปิดเครื่องมันก็เรียกระบบปฎิบัติติดตั้งให้ทันที (แล้วก็เช่นกัน IPhone  มันก็พัฒนามาจากสาย Unix )  มันก็สามารถใช้โปรแกรมพื้นฐานได้ทันที

ยกเว้น กรณีเราต้องการ App  บางตัวที่มีคุณสมบัติที่เราต้องการทำงาน ก็ต้องซื้อมาติดตั้งเพิ่ม แต่โดยปกติพื้นฐานทั่วไปมันก็ใช้ได้แล้ว

ในส่วนคอมพิวเตอร์หากเราซื้อมา  เราได้มาแค่อาร์ดแวร์นะครับ คือเฉพาะตัวเครื่องคอมพิวเตอร์  หากเราจะใช้งานก็ต้องติดตั้ง OS (Operating System) หรือที่เขาเรียกว่าระบบปฎิบัติการ  ที่รู้จักกันดีคือ

ระบบวินโดว์  ซึ่งส่วนมาผู้ใช้ก็รู้จักแต่ตัวนี้ เพราะติดตั้งง่าย ที่สำคัญร้านติดตั้งมาให้เสร็จ

ส่วนอีกตัวคือ

ระบบ Apple คือเครื่อง MAc  ในส่วนนี้ รู้สึกว่าจะติดตั้งให้เสร็จและคิดเงินมาพร้อมกับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เราซื้อแล้ว (ไม่แน่ใจนะครับ เพราะไม่เคยใช้ ราคามันเกินจะเอื้อมถึงจริงๆๆ ครับ )

ตัวสุดท้าย คือไลนุกซ์ ที่ติดตั้งแบบ Desktop

ที่มาแรงและดังคือ Ubuntu  ซึ่งถ้าใครซื้อคอมพิวเตอร์ยี่ห้อ เดล(Dell) หากเราไม่ซื้อวินโดว์     จะเห็นว่าพอเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ ระบบจะติดตั้ง Ubuntu ให้เลย แต่ส่วนมาก็แค่โผล่ออกมาครับ หลังจากนั้นก็ถูกลบทิ้งทันที เพราะผู้ใช้ ใช้ไม่เป็น

จริงๆๆ แล้วมันไม่ยากหรอกครับ แต่มันน่าจะเกิดจากความเคยชินมากกว่า เพราะส่วนมาพอจับเครื่องคอมพิวเตอร์ก็จะเจอระบบวินโดว์แล้ว เลยชินกับมันมาตลอด พอมาเจอตัวใหม่ถ้าใครไม่สนใจจริงๆๆ ก็ต้องมานั่งศึกษาอยู่อีก มันเสียเวลา

ในการติดตั้งวินโดว์ มีสองแบบ คือแบบแรกลงแบบตัวเต็มหรือตัวซื้อที่มีไลเซนส์พร้อมซึ่งแน่นอนต้องเสียเงินเพิ่ม   กับอีกแบบคือลงแบบเถื่อนคือลงเสร็จแล้วใช้โปรแกรมแก้ให้วินโดว์กลายเป็นวินโดว์แท้ ส่วนมากใช้แบบนี้มาก อาจจะเป็นเพื่อประหยัดงบหรือไม่รู้ เพราะร้านทำมาให้เสร็จแล้ว หรือไม่เห็นความจำเป็นว่าแท้หรือไม่แท้ หากใช้งานได้ก็พอแล้ว

แต่ส่วนมากแล้วผู้ใช้ที่มีงบก็มักจะซื้อของถูกต้องมาใช้ ส่วนองค์กรหรือหน่วยงาน หรือคนที่ต้องการความมั่นคงของคอมพิวเตอร์ก็มักจะซื้อครับ เพราะวินโดว์เถื่อนคือวินโดว์ที่แครกมาแล้ว  ซึ่งเราไม่รู้เลยครับว่าว่าตอนที่เราแครกเพื่อให้ใช้งานได้มันมีอะไรแถมมาบ้าง ซึ่งบางคนที่เข้าใจ เขาก็กังวลในจุดนี้ครับ เลยซื้อของแท้

สิ่งที่ตามมาคือ เมื่อมีคนใช้มาก ผู้ผลิตซอฟต์แวร์เฉพาะทางก็ผลิตเพื่อให้ใช้งานบนวินโดว์มากขึ้น ไม่ต้องดูอื่นไกลนะครับ บางโปรแกรมเล่นได้เฉพาะบนวินโดว์ อย่าง Photoshop จะเห็นว่าเล่นได้เฉพาะวินโดว์  มันคือตัวบังคับอย่างหนึ่ง ว่าต้องใช้วินโดว์เท่านั้นถึงจะใช้โปรแกรมที่เราต้องการใช้งานได้   ซึ่งในส่วนตัวก็ต้องใช้วินโดว์ด้วยในทางหนึ่ง เพราะต้องใช้โปรแกรมเฉพาะ อย่างเช่น โปรแกรม ไอทู  word อะไรพวกนี้แหละครับ

หากจะใช้วิโดว์แท้ แบบไม่ต้องซื้อทางแก้ ก็ซื้อคอมพิวเตอร์ที่มี วินโดว์ OEM อย่างเช่นเดล  พวกนี้สามารถสร้างตัวติดตั้งเป็นวินโดว์แท้ให้เลย แต่ Service Tag  จะต้องทราบหรือมี หรือยังไม่หมดอายุได้หรือไม่ยังไม่แน่ใจ  หรือส่วนยี่ห้ออื่นอาจจะมี ก็ไม่แน่ใจครับ เพราะส่วนมากใช้ เดลมาตลอด ลองหาข้อมูลดูนะครับ

ส่วนไลนุกซ์ในยุคแรก ๆๆ ติดตั้งยาก การยุ่งยาก จะมีปัญหามากในทางด้านการจัดการอาร์ดแวร์  บางทีติดตั้งแล้วใช้เมาส์ไม่ได้ ใช้เครื่องปริ้นไม่ได้ จอแสดงผลไม่ถูกต้อง  แต่วินโดว์จัดการมาให้เรียบร้อยพร้อมสรรพ แต่ก็แลกกับในส่วนของซอฟต์แวร์ที่มีขนาดใหญ่ขึ้นด้วย

แต่มาหลังๆๆ พวกไลนุกซ์ ติดตั้งง่ายครับ และมักจะเจอพวกอุปกรณ์ที่เราหมดครับ ยกเว้นพวกใครใหม่ล่าสุดจริงๆๆ ครับ บางทีอาจจะไม่เจอ

จากปัญหาดังบอกว่า หากคอมพิวเตอร์เราใช้วินโดว์ 7 แล้วช้า มีทางเลือกครับ คือหันมาใช้ ไลนุกซ์  แต่ต้องเข้าเงื่อนไข

ไม่จำเป็นต้องใช้โปรแกรมเฉพาะ คำว่า โปรแกรมเฉพาะในที่นี้คือโปรแกรมที่เล่นได้เฉพาะวินโดว์อย่างเดียว   ไม่สามารถเล่นได้หรือรองรับในระบบไลนุกซ์  อันนั้นภาคบังคับครับ ว่าต้องลงวินโดว์อย่างเดียว เพราะไม่สามารถบนไลนุกซ์ได้  แต่ถ้าเราใช้โปรแกรมทั่วไป ในไลนุกซ์ มีโปรแกรมที่ใช้งานแทนได้ แต่ต้องศึกษาเพิ่มนิด

กรณีที่เราเป็นผู้คุมระบบเน็ตเวิร์ค  หากมาสายไลนุกซ์จะถูกทางมากที่สุด เพราะอะไรหรือไม่ครับ

เพราะระบบเน็ตเวิร์คหรือการทำ Server โดยปกติแล้วเมื่อทำตัว Server เสร็จการจัดการระบบก็มักจะจัดการผ่านเครื่องลูกหมด

หากเราใช้เครื่องลูกที่คุมระบบ เป็นคอมพิวเตอร์ที่ลงระบบปฎิบัติการ Linux  จะมีความปลอดภัยค่อนข้างสูงครับ

อย่างแรก ปัญหาไว้รัส แทบไม่เจอ อย่างที่สองจะลงโปรแกรมไหนไม่ต้องหา สั่งติดตั้งได้เลย เพราะส่วนมากมันจะเก็บไว้ใน reposties ของตัวผู้พัฒนาหมด แค่ใช้คำสั่งติดตั้งได้เลย ไม่ต้องมานั่งแครก หรือเสี่ยงกับสแปมเข้ามาในเครื่อง ที่สำคัญคือฟรี หมดทั้งแต่ Server ยันเครื่องลูกที่คุมระบ

กรณีที่เราคุมระบบ และใช้ระบบวินโดว์เป็นเครื่องลูกสำหรับคุมระบบ ก็ใช้ putty  ส่วนมาก   แต่มันจะมีปัญหาในการทำงานเพราะบางทีหน้าจอเล็กบ้างตัวอักษรเล็กมาก ที่สำคัญคือการก็อปปี้ กับการวาง  ค่อนข้างจะยากนิด

อย่างเช่น กรณีที่เราใช้คำสั่งคอมมานไลน์ผ่านเครื่องลูกคุม Server  หากเจอปัญหาแจ้ง error เราต้องการจะ ก็อปปี้ตัว Error นั้นเพื่อไปวางหาใน google  หากใช้ putty มันค่อนข้างจะยากและไม่สะดวก

หรือกรณีที่เราเจอคำสั่งในหน้าเว็บไซต์ และเราขี้เกียจพิมพ์ จะก็อปปี้ไปวางเป็นคำสั่ง มันก็ทำได้ครับ แต่บางที่มันไม่สะดวกต้องใช้ชอร์ตคัต

แต่หากเราใช้ไลนุกซ์ เราสามารถทำงานผ่าน Terminal ของ  Linux  นั้นได้เลย การก็อปปี้จากคำสั่งเพื่อค้นหาใน  google  หรือก้อปปี้ คำสั่งแบบคอมมานไลน์ จากหน้าเว็บที่เขาแนะนำ แค่ใช้เมาส์อย่างเดียวก็ทำได้เลยครับ นั้นคือความสะดวกครับ

และสิ่งที่สะดวกอีกอย่างคือ หากเราจะสร้างเว็บแต่เราต้องการทดสอบในเครื่องเราก่อน ก็แค่สร้างเครื่องของเราให้เป็น Server ได้เลยครับ ไม่ต้องใช้โปรแกรมจำลองอย่างในสกุลวินโดว์

พูดง่ายๆๆ คือเราเอาคอมพิวเตอร์ของเรานั้นแหละที่คอมพิวเตอร์ยังแรง แต่ใช้วินโดว์10 ไม่ได้แล้ว ก็มาลงเป็น Server แล้วจัดการแปลงเป็น Desktop เท่ากับว่าคอมพิวเตอร์ของเราเป็นทั้ง Server และใช้งานในรูปแบบ Desktop  ได้ในเครื่องเดียวกัน

แต่อันนี้ไม่แนะนำ Arch Linux นะครับติดตั้งยาก แนะนำให้ใช้ Debian ครับ  สุดยอดตัวนั้นหากจะเล่นสองแบบในเครื่องเดียวกัน

และหากเราจะใช้เป็น hosting  เผลอๆ  ก็ทำได้เลย เพียงแค่เปลี่ยนให้เป็น IP จริง หรือหากเราไม่ต้องการเพิ่มงบ ก็แค่สร้างไฟล์วอลดักหน้าแล้วปรับแต่งเป็น เรียกผ่าน DDNS ก็สามารถทำให้คอมพิวเตอร์เครื่องเป็น Server เรียกผ่านอินเตอร์เน็ตได้ทันที

แล้วเราจะลองเล่นหรือใช้ Linux  ตัวไหนดี

มีเยอะหลายสายพันธ์จริงๆๆ ครับ เลือกไม่ค่อยถูกบางทีรักพี่เสียดายน้อง ก็ต้องดูว่าเราชอบตัวไหน คอมพิวเตอร์ของเราสเปคขนาดไหน ความยากของแ่ต่ละสายพันธ์ ความรู้ของเราเกี่ยวกับ Linux  ระดับไหน ก็เลือกใช้ตามที่เราคิดว่าใช้งานแล้วไม่ทำให้เราเสียเวลาหรือต้องศึกษามาก อาจจะเล่นตัวง่ายๆๆ ที่อำนวยความสะดวกให้เราก่อน

อย่างเช่น Ubuntu,Mint  พวกนี้มาจากสายเดียวกันคือ พัฒนามาจาก Debian ออกลูกมาเป็น Ubnutu แล้วต่อยอดมาเป็น Mint  หากเจอปัญหาหรือคำสั่งในการติดตั้ง 3 ตัวนี้ แทบจะเหมือนกันเลยครับ

[row] [col span=”6″ span__sm=”12″] [ux_image id=”15136″ image_size=”medium”] [/col] [col span=”6″ span__sm=”12″]

จากภาพคือ Linux ค่ายต่างๆนะครับ หรือที่เขาเรียกว่า distro

อันนี้ แค่ยกตัวอย่างนะครับ มันจะมีมากกว่านี้อีก หลายสายพันธ์มาก บางทีตัวหนึ่งจะแยกออกเป็นสายพันธ์ย่อยอีก เขาเรียกว่า linux- Base  ดูได้จากเว็บนี้นะครับ  https://en.wikipedia.org/wiki/List_of_Linux_distributions

หรือไม่ก็ดูในภาพครับ จะเขียนว่าแต่ละตัว base-on จาก Linux ตัวไหน

[/col] [/row] [row] [col span=”6″ span__sm=”12″]

ภาพนี้ดูขำๆๆ แต่อธิบายได้ชัด

จากภาพ คือ Debian  เป็น  Debian-based คือเอาตัวหลักคือ debian  แล้วมาพัฒนาต่อเป็นสายพันธ์อื่น จะเห็นว่า แยกออกมาเป็น Ubuntu kali mint ฯลฯ

[/col] [col span=”6″ span__sm=”12″] [ux_image id=”15139″ image_size=”medium”] [/col] [/row] [row] [col span=”6″ span__sm=”12″] [ux_image id=”15150″ image_size=”medium”] [/col] [col span=”6″ span__sm=”12″]

ภาพนี้ คือที่เขาแนะนำค่อนข้างจะแนวหน้าและเหมาะสำหรับการพัฒนโปรแกรม

ในกลุ่มตัวที่ยากที่สุด ที่เขาบอกมา และยังไม่ได้ลองคือตัวขวามือสุด gentoo มีคนเก่งบางคนบอกว่ายาก กว่า Arch

[/col] [/row] [divider align=”center” width=”162px”]

มีคนสรุปภาพรวมมาให้ว่า ใครน่าจะไปเส้นทางไหน แค่เอามาให้ดูนะครับ 

[ux_image id=”15137″] [gap height__md=”56px”] [ux_text text_align__md=”center”]

แต่ระวังนะครับ  หากเจอตามภาพตัวอย่าง ข้างล่าง อย่าไปสนใจครับ ที่เจอในเฟสในเชิงดูถูกผู้ใช้ ระบบปฎิบัติการ ที่นอกเหนือจากตัวเองใช้ ซึ่งตามภาพก็สามารถวิเคราะห์ได้ ว่าคนทำใช้ระบบปฎิบัติการไหนอยู่

[/ux_text] [ux_image id=”15138″]

หากเราต้องการทดสอบหรือลองเล่นก็ลองติดตั้งแบบต่างๆๆ ได้ครับมีรูปแบบการติดตั้งได้หลายรูปแบบ เช่น

1.ติดตั้งเพียวๆ คือติดตั้งไลนุกซ์อย่างเดียว โดยไม่วินโดว์

2.ติดตั้งคู่กัน คือติดตั้งวินโดว์ก่อน และติดตั้งไลนุกซ์ตามหลัง ในคอมพิวเตอร์ของเรา ตอนเปิดเครื่องมันจะมีให้เลือกว่า จะเข้าเล่นวินโดว์หรือเข้าเล่นไลนุกซ์

3.ติดตั้งวินโดว์อย่างเดียว  แล้วติดตั้งไลนุกซ์บนวินโดว์อีกทีหนึ่ง กรณีนี จะต้องเป็นวินโดว์ ตั้งแต่วินโดว์ 10 เท่านั้น  คือมันจะสามารถเรียกใช้งาน Linux บน วินโดว์ 10 ซ้อนมาอีกทีหนึ่ง

4.ติดตั้งวินโดว์แล้วติดตั้ง VMware แล้วติดตั้งไลนุกซ์บน VMware วิธีการแบบนี้ส่วนมากใช้สำหรับเราต้องทดสอบโปรแกรม แนะนำหรือสอนการติดตั้งโปรแกรม เพราะในขั้นตอนระหว่างติดตั้งเราสามารถจับภาพต่างๆๆ เป็นขั้นตอนได้ หากเราติดตั้งในเครื่องจริงขั้นตอนในการติดตั้งต้องถ่ายภาพ บางทีออกมาไม่สอน เพราะจะมีปัญหาเกี่ยวกับแสงไฟ หรือมุมในการถ่ายรูป

แล้ว Arch Lunux แตกต่างจากตัวอื่นอย่างไร มันวิเศษตรงไหน

ครับ ตามหัวข้อ ตอนนี้คนใช้ Arch โดนต่อว่ามากที่สุด  เหมือนกับว่าคนใช้ Arch เป็นคนหลงตัวเอง ฮ่าาา  อย่าไปสนครับ เราเอาข้อดีของมันมาใช้งาน ตัวอื่นดีตรงไหน ก็เอามาใช้ให้ตรงกับงานของเรา

คือแบบนี้นะครับ หากเราใช้วินโดว์ จะเห็นว่า จริงๆๆ แล้วเราใช้ไม่กี่โปรแกรมหรอกครับ พิมพ์เอกสารก็เปิดพวก Office  เช่น word excel PowerPoint  หรือไม่หากท่องเว็บ ก็สมัยก่อนก็ IE ตอนหลังเปลี่ยนมาเป็น ADGe   ตามมาด้วย Firefox  Google opera  หรือโปรแกรมอื่นๆๆ ไม่กี่โปรแกรมหรอกครับ แต่ให้ลองมองในคอมพิวเตอร์ของเรานะครับบางที่เราจะเห็นว่าไม่รู้อะไรเต็มไปหมด

เช่นกันครับ หากเราลงไลนุกซ์แบบเดสท้อป  เราจะเห็นว่ามีพวกโปรแกรมต่างๆๆ ถามมาให้เต็มหมดบางอันเราแทบไม่ได้ใช้เลย แต่จะทำอย่างไรได้เพราะตอนติดตั้งโปรแกรมมันแถมมาให้เพียบ ที่นี้ละครับพอมากมันหนักเครื่อง หนักแรม (พูดแบบบ้านนะครับ)  ยิ่งไปใช้งานไปพวกขยะก็เพิ่มเพียบ มันก็ยิ่งช้าขึ้นไปอีก  ทางแก้ก็ต้องซื้อคอมพิวเตอร์ใหม่ที่ สเปคสูงขึ้นเพื่อให้เล่นคอมพิวเตอร์ได้คล่องขึ้น มันก็เปลืองเงินอีก เพราะเครื่องเก่าจริงๆๆ ก็ยังใช้ได้   สรุปต้องซื้อคอมพิวเตอร์ตัวใหม่ แล้วคอมพิวเตอร์เก่า ทำอย่างไร ก็ทิ้งนะครับ

นี้คือเหตุผลที่เขียนบทความเรื่องการใช้งาน  Arch Linux

Arch Linux มันคือไลนุกซ์ตัวหนึ่งเช่นกันครับ แต่พัฒนาขึ้นมาใหม่ โดยมีหลักการคือตอนติดตั้ง จะไม่มีอะไรแถมมาเลยครับคือมีแต่ระบบปฎิบัติการล้วนๆ ไม่มีโปรแกรมอะไรแถมมาเลย ซึ่งมันก็แลกกันครับ กับความยากลำบากในการติดตั้ง  จริงๆๆ แล้วจะว่าลำบากมันไม่ลำบากหรอกครับ แต่มันยากนิดเดียวตอนเราจัดการอาร์ดดิสก์ของเราครับ หากเราทำความเข้าใจกับระบบอาร์ดดิสก์สักนิด  เวลาในการติดตั้งน้อยง่ายกว่า ไลนุกซ์บางตัวอีกครับ แต่อย่างที่บอกมันใช้เมาส์คลิกไม่ได้ต้องใช้คำสั่ง มีแต่จอขาวดำ เลยดูยาก แต่ถ้าเราพิมพ์ตามคู่มือมันก็ไม่ยากครับ เผลอๆๆ เร็วกว่าบางตัวเสียอีก

นั้นคือข้อดีครับ เมื่อไม่มีโปรแกรมแถมอะไรมามันก็ทำให้ระบบมันเบาขึ้น เราใช้คอมพิวเตอร์เก่าขนาดใหน ก็ได้ บางเครื่องทิ้งไว้ 5-6 ปี ก็ยังเอามาลงใช้งานได้สบายครับ ล่าสุดซื้อ Lenovo t440p  ราคาแค่ 6000 กว่าบาทมาใช้งานคุมระบบทำเว็บไซต์และงานต่างๆๆ ได้สบายครับความเร็วถือว่ายังเร็ว เปิดโปรแกรมพร้อมกันได้หลายโปรแกรมโดยไม่มีการชงักแต่อย่างใด

สรุปข้อดีนะครับ ว่า Arch ดีตรงไหนบ้าง

Arch Linux   การติดตั้งไม่มีของแถมมาให้ครับ   จะใช้อะไรแค่ไหนก็ลงตามที่เราจะใช้เท่านั้นคอมพิวเตอร์รุ่นเก่าๆๆ ก็ใช้ได้ดี เพราะลองแล้วเครื่องเดียวกันแต่ลงไลนุกซ์ คนละตัวกันความเร็วในการใช้งานแตกต่างกัน ก็เครื่อง Lenovo ThinkPad t440p นั้นแหละครับ ทดสอบลง Arch Linux กับ Debian Server  มันเห็นชัดถึงความแตกต่างครับ

ส่วนการอัพเดท มีการอัพเดทตลอด ที่เขาเรียกว่า rolling update  ความหมายคืออย่างเช่นวันนี้ เราสั่งอัพเดทแล้ว พรุ่งนี้ผู้พัฒนาเขาอัพเดทซอฟร์แวร์เพิ่ม เราก็เข้าไปสั่งอัพเดทได้ทันที ไม่ต้องรอว่าสามเดือน ห้าเดือนจะปล่อยอัพเดท และเช่นเดียวกัน ก็มีการกล่าวอ้างกันว่า แบบนั้นหากไม่สมบูรณ์แล้วปล่อยออกมา มันกระทบกับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เราใช้  แต่ให้คิดในหลักตรงข้ามนะครับ เขาพัฒนาได้นิดหนึ่งแล้วปล่อยให้อัพเดท  มันก็เหมือนกันแหละ พัฒนาได้นิดหนึ่งแล้วเก็บไว้ รอเป็นก้อนแล้วปล่อยให้อัพเดทอีกทีหนึ่ง ก็เจอปัญหาเหมือนกันแหละครับ

การติดตั้งแพ็คเก็ต หรือการติดตั้งโปรแกรม เราสามารถจะเลือกใช้การติดตั้งผ่าน Repository   หากพูดแบบชาวบ้านไม่ใช่ช่าง คือจะมีพื้นที่เก็บโปรแกรมหรือแพ็คเก็ตที่ผู้พัฒนา Arch  จัดทำแล้วไปวางไว้ เพื่อให้สั่งติดตั้งผ่านอินเตอร์เน็ตได้ทันที โดยใช้คำสั่ง  pacman –S  หากกรณีที่เราสั่งติดตั้งแล้ว ไม่มีแพ็คเก็ตดังกล่าว ที่เห็นชัดคือไม่มี  google-chrome มีแต่  Firefox  เราก็มีช่องทางคืออื่นคือผ่านทาง  AUR Arch User Repository  ที่ทีมผู้ใช้ร่วมกันพัฒนาและนำไปเก็บไว้เพื่อให้ดาวโหลดน์มาใช้งาน โดยผ่านตัวช่วยในการติดตั้ง เอาเป็นว่าแค่นี้พอนะครับหากอธิบายจะยาวกลัวผิด ฮ่า

ข้อเสีย ที่ไม่น่าใช้ของ Arch

ส่วนข้อเสียของ Arch  คืออย่างที่บอก การติดตั้งมันจะยากนิดตรงขั้นตอนการปรับแต่งอาร์ดดิสก์ และในการติดตั้งต้องใช้คำสั่งคอมมานไลน์ นั้นแสดงว่า เราต้องพิมพ์เองทุกคำสั่ง และต้องเปิดคู่มือพร้อมกันด้วย เลยทำให้คนใช้น้อย และอีกข้อคือปัญหาต่างๆๆ หากเข้าไปถามใน wiki ของ Arch ซึ่งถือว่าเป็น wiki ที่ดีมากๆๆ ตัวหนึ่ง  https://archlinux.org/

ในการใช้งานปัญหาที่พบมากคือ หากถามคำถามในเชิงไม่อธิบายหรือไม่ทดลองทำก่อนมักจะไม่ได้รับคำตอบ และคำตอบส่วนมากก็มักจะบอกให้ไปหาใน wiki

ในจุดนี้ จะสู้พวก  Ubuntu , Debian ไม่ได้ครับ ปัญหาต่างๆๆ สามารถค้นหาได้เร็ว และจะเต็มใจตอบมากกว่า ไม่เล่นตัวแบบ Arch และอีกอย่างถ้าสเปคคอมพิวเตอร์ของใครยังแรงพอแต่อาจจะเล่นวินโดว์แล้วช้า ก็แนะนำไปตัวอื่นก็ได้ครับ อย่างเช่น Ubuntu จะมีการแนะนำกันมากและใช้งานง่ายครับ  ตืดตั้งก็ง่าย  ปัญหาต่างๆๆ มีคนช่วยตอบมากครับ และในไทยไม่แน่ใจว่ามีกลุ่มผู้ใช้ไหมครับ เพราะส่วนมากหาเจอง่าย เลยอ่านไปทั่วเมื่อเจอปัญหา

อย่างภาพสุดท้ายนะครับ ที่เจอในเฟส อธิบายความหมายถึงเวลามีคำถามและคำตอบที่ได้มาในเชิงประชดแต่ออกมาเป็นภาพได้ดี

[ux_image id=”15160″] [row] [/row]

บทความนี้เป็นความเห็นส่วนตัวนะครับ เผื่อคนเก่งเข้ามาอ่านแล้วอาจจะโต้แย้งว่าไม่จริงอย่างไร ก็ขอโทษด้วย  เพราะเป็นแค่ชาวสวนคนหนึ่งไม่ได้จบมาทางสายไอทีแต่อย่างได้ครับ ความรู้ก็ได้จากการอ่านแล้วมาลองผิดลองถูกทำ

อย่าลืมนะครับ  Linux  ดีทุกตัวเพียงแต่เราเลือกให้ใช้ให้ถูกกับงานที่เราต้องการจะใช้หรือเครื่องคอมพิวเตอร์ของเรารองรับ ไม่มีสิ่งไหนตายตัว

news via inbox

ต้องการรับข้อมูลข่าวสาร

Leave A Comment